การพัฒนาระบบบริหารจัดการงานประชุมวิชาการระดับชาติของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2022.16คำสำคัญ:
ระบบบริหารจัดการ, การประชุมวิชาการ, ระบบสารสนเทศบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบบริหารจัดการงานประชุมวิชาการระดับชาติของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบบริหารจัดการงานประชุมวิชาการระดับชาติของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ระบบบริหารจัดการงานประชุมวิชาการระดับชาติของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ใช้รูปแบบการพัฒนาตามแนวคิดของ ADDIE Model กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้งานระบบ จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญและแบบสอบถามความพึงพอใจโดยผู้ใช้งานระบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ระบบบริหารจัดการงานประชุมวิชาการระดับชาติของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ประกอบด้วย 5 โมดูล ได้แก่ 1) โมดูลการจัดการข้อมูลสมาชิก 2) โมดูลการจัดการส่งบทความ 3) โมดูลการจัดการค่าลงทะเบียน 4) โมดูลการแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ และ 5) โมดูลการรายงานผล ระบบมีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผู้ใช้งานระบบมีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
References
ฆัมภิชา ตันติสันติสม จินดาพร อ่อนเกตุ และ สุรเชษฐ ขอนทอง. (2563). การพัฒนาระบบสารสนเทศการจัดการบทความงานประชุมวิชาการ. สักทอง, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท.), 7 (1) มกราคม –มิถุนายน 2563, 59-67
ทองพูล หีบไธสง และ กฤตยา ทองผาสุก. (2552). การออกแบบและพัฒนาระบบการจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 19 (1) ม.ค.- เม.ย. 2552, 100 – 108.
ธนภัทร เจิมขวัญ และ พุฒิธร ตุกเตียน (2560) การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการงานประชุมวิชาการ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 22 มิถุนายน 2560, 1077-1087.
นารีจุติ ศรีแสงฉาย. (2564). การพัฒนาระบบติดตามการดำเนินงานในวารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิชาการ, 7 (2) พฤษภาคม - สิงหาคม 2561, 58-66.
ผุสดี ดอกพรม. (2559). แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ. เอกสารประกอบการสอนภาควิชา บรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พฤกษ์ คงบุญ วรปภา อารีราษฎร์ และ เผด็จ พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2558). ระบบการบริหารจัดการงานประชุมวิชาการ. การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 235 – 24.
พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. อภิชาตการพิมพ์.
เพ็ญพักตร์ บัววัน สายชล พรหมประศรี ฐาปนี สุขชื่น พิมพกานต์ บุญศรี วิชัยเดช เอ่งฉ้วน และ โอปอ กลับสกุล. (2560). ระบบสารสนเทศรูปแบบปฏิสัมพันธ์สาหรับการจัดการข้อมูลการส่งงานบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 7 (14) กรกฎาคม – ธันวาคม 2560, 68-74.
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น.
วรปภา อารีราษฎร์ ธวัช อารีราษฎร์ เผด็จ พรหมสาขา ณ สกลนคร นิรุติ ไล้รักษา และ บดินทร์ แก้วบ้านดอน. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศการประชุมวิชาการ สำหรับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 2 (2) กรกฎาคม – ธันวาคม 2558, 31-38.
สุวิมล ติรกานันท์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์:แนวทางสู่การปฏิบัติ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬากรณ์มหาวิทยาลัย.
อมลณัฐ โชติกิจนุสรณ์ นิศากร เถาสมบัติ เกษม ตริตระการ เกษม กมลชัยพิสิฐ ณัฐชัย เปลี่ยนวิจารณ์ และ พรรณนา พูนพิน. (2556). เทคโนโลยีสารสนเทศบูรณาการ. กรุงเทพฯ:บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.
Easy Chair. (2021). What Easy Chair Helps You to Do. Retrieved January 8, 2021. From http://easychair.org.
Noimanee, P. & Limpiyakom, Y. (2009). Towards a RESTful Process of Conference Management System. Proceeding of the International Multi Conference of Engineers and Computer Scientists 2009 Vol 1 IMECS. Hong Kong.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Mahidol R2R e-Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.