การพัฒนาระบบการขอใช้เครื่องมือปฏิบัติการด้วยระบบสแกนคิวอาร์โค้ด ของนิสิตแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • สิริมา วงษ์พล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • พัชรียา อัมพุธ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2022.15

คำสำคัญ:

ระบบการขอใช้เครื่องมือปฏิบัติการ, ระบบสแกนคิวอาร์โค้ด, นิสิตแพทย์แผนจีน, มหาวิทยาลัยพะเยา

บทคัดย่อ

         งานพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบการขอใช้เครื่องมือปฏิบัติการด้วยระบบสแกน QR code 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาระบบการขอใช้เครื่องมือปฏิบัติการด้วยระบบสแกน QR code และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้งานของระบบพัฒนาระบบการขอใช้เครื่องมือปฏิบัติการด้วยระบบสแกนคิวอาร์โค้ดของนิสิตแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยพะเยา โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นิสิตแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) คิวอาร์โค้ดสำหรับสแกนเข้าใช้งานระบบการขอใช้เครื่องมือปฏิบัติการ 2) ระบบการขอใช้เครื่องมือปฏิบัติการด้วยวิธีสแกน QR code 3) แบบประเมินคุณภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ และ 4) แบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการขอใช้เครื่องมือปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญก่อนนำไปใช้งานจริง การวิจัยนี้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา รายงานเป็นค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

         จากผลการศึกษาพบว่า ผลการประเมินคุณภาพด้านรูปแบบระบบแสดงข้อมูล ชื่อเครื่องมือและอุปกรณ์ จำนวนที่ยืม - คืน จำนวนคงเหลือ ชื่อสกุลผู้ยืม - คืน วันที่ยืม - คืน จากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบอยู่ในเกณฑ์มาก มีค่าเฉลี่ยคะแนนรวมอยู่ในระดับมาก (4.20 ± 0.66) ผลการประเมินคุณภาพแบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการขอใช้เครื่องมือปฏิบัติการจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาอยู่ในเกณฑ์มาก มีคะแนนรวมผลการประเมินเฉลี่ย 3.37 ± 0.23 และผลการประเมินแบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการใช้งานระบบการขอใช้เครื่องมือปฏิบัติการ จากนิสิตแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยพะเยา อยู่ในเกณฑ์มาก มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากคือ 4.45 ± 0.49

References

กิตติศักดิ์ นคร, ธนศักดิ์ ภารสาร, สุวรรณี ดัชนีย์, สุกฤต ศิริขวัญพงศ์, และ อดิษฐ์ จิร. (2562). การประยุกต์ใช้ QR Code เพื่อตรวจสอบและรายงานสถานะการทำงานประจำวันของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ. ในสำนักบริการ วิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, หนังสือประมวลบทความ (proceeding) การประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการใน สถาบันอุดมศึกษาครั้งที่ 11 “ทองกวาววิชาการ’62 : ส่งเสริมงานวิจัยพัฒนางานพัฒนาองค์กร”. (น. 934-940). สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชีวิน ชนะวรรโณ, เนาวัล ศิริพัธนะ, ผุสดี มุหะหมัด, และลัดดา ปรีชาวีรกุล. (2557). การประยุกต์ใช้ QR code กับระบบการจัดการสารสนเทศห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์. การประชุมวิชาการ งานวิจัย และพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 6 การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้โลกมีสันติสุข. (น. 307-310). สมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่.

ดวงกมล นาคะวัจนะ. (2554). QR Code. วารสารประกาย, ปีที่ 8 (ฉบับที่ 85), 36.

ปภาอร เขียวสีมา, สุวัฒน์ คำลือ, สุรเชษฐ์ กันทะคำ, ณฐกร คำแก้ว, เจษฎา เปาจีน, และ รุจโรจน์ แก้วอุไร. (2565) การประยุกต์ใช้ระบบคิวอาร์ โค้ด (QR Code) และยูทูป (YouTube) สำหรับการบริหารจัดการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, ปีที่ 9 (ฉบับที่ 1), 43-57. DOI.org/10.14456/jmu.2022.5

พินทุสร ปัสนะจะโน, ตะวัน ขุนอาสา, ธนา จันทร์อบ และราเมศวร์ พร้อมชินสมบัติ. (2560). การใช้รหัสคิวอาร์โค้ดบนระบบปฏิบัติการบนมือถือเพื่อการบริหารจัดการเครื่องมือวิทยาศาสตร์. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปีที่ 9(ฉบับที่ 1),88-97.

รัตนา ทรัพย์บำเรอ. (2559). ระเบียบวิธีวิจัยทางสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

วิภู กำเหนิดดี. (2552). คุณค่าของการฝังเข็มเพื่อรักษาโรคปวดที่พบบ่อย. เวชสารแพทย์ทหารบก, ปีที่ 62 (ฉบับที่ 2), 87-92.

สุจิตรา สำราญใจ. (2560). การประยุกต์เทคโนโลยีรหัสคิวอาร์กับการบริการสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร. PULINET Journal, ปีที่ 4 (ฉบับที่ 3), 216-222

หลักสูตรการแพทย์แผนจีนบัณฑิต หลักสูตรใหม่ (2557) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. หน้าที่ 1-169.

อาสา ชุมรักษา. (2562, 22 สิงหาคม). การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศห้องปฏิบัติการโดยใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR code)https://www.reo16.mnre.go.th/reo16/frontpage.URL 2019-08/20190822_jrlfdede.pdf.

อุษา มั่นยืนยง, สุกฤต ศิริขวัญพงศ์, และ ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์. (2562). การพัฒนาระบบบริหารจัดการเครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์และของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ ด้วย QR Code ร่วมกับ Google Drive Services. ในสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, หนังสือประมวลบทความ (proceeding) การประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการใน สถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 11 “ทองกวาววิชาการ’62 : ส่งเสริมงานวิจัยพัฒนางานพัฒนาองค์กร”. (น. 941-949). สำนักบริการวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์, และ ชญาภา วันทุม. (2560). การทดสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือวิจัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, ปีที่ 11 (ฉบับที่ 2), 105-111.

Dieter Melchart, Wolfgang Weidenhammer, Andrea Streng, Susanne Reitmayr, Andrea Hoppe, Edzard Ernst, Klaus Linde. (2004). Prospective investigation of adverse effects of acupuncture in 97,733 patients. Arch Intern Med, 164 (1):104-105. doi:10.1001/archinte.164.1.104.

John A. Astin, Ariane Marie, Kenneth R. Pelletier, Erik Hansen, William L. Haskell. (1998). A review of the incorporation of complementary and alternative medicine by mainstream physicians. Arch Intern Med, 158 (21), 2303-2310. doi:10.1001/archinte.158.21.2303.

Nattapon Muangtum. (2564, 25 กุมภาพันธ์). รายงานสถิติ Thailand Digital Stat 2021 จาก We Are Social. www.everydaymarketing.co. URL https://www.everydaymarketing.co/knowledge/thailand- digital-stat-2021-we-are-social/

Yamane Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย