การเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาระหว่างการประคบด้วยแผ่นร้อนและแผ่นเย็นหลังการบำบัดด้วยคลื่นช็อคชนิดเรเดียลในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังพืดของกล้ามเนื้อทราพิเซียส

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร ชาติประสพ คณะเวชศาสตร์เขร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จุฑาภรณ์ เนตรโพธิ์แก้ว คณะเวชศาสตร์เขร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2021.38

คำสำคัญ:

การบำบัดด้วยคลื่นกระแทกเรเดียล, แผ่นร้อน, แผ่นเย็น, คลื่นกระแทก

บทคัดย่อ

            เนื่องจากปัญหาปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า สะบัก พบว่ากล้ามเนื้อทราพิเซียสส่วนบน เป็นกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดที่พบบ่อยและเป็นปัญหาเรื้อรัง จึงทำให้มีผู้ป่วยมาพบแพทย์และทำการรักษาเป็นจำนวนมาก มารับการรักษาที่หน่วยกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนเป็นจำนวนมาก ทางผู้ทำวิจัยจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว คณะผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาระหว่างการบำบัดด้วยคลื่นช็อคชนิดเรเดียล(radial shock wave therapy, RPWT) ร่วมกับการวางแผ่นร้อน (hotpack, HP) และแผ่นเย็น (coldpack, CP) ในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน

            ขั้นตอนในการเข้าร่วมวิจัยครั้งนี้ โดยอาสาสมัครจะต้องมีอาการปวดกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน และไม่มีอาการชาหรือร้าวลงแขนข้างใดข้างหนึ่ง ให้อาสาสมัครอ่านขั้นตอนในการเข้าร่วมวิจัยและอธิบายอย่างละเอียด พร้อมทั้งเซ็นยินยอมในการเข้าร่วมโครงการ โดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วยออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 15คน โดยใช้วิธีสุ่ม randomization โดยกลุ่มแรกจะสอบถามระดับคะแนนอาการปวดกล้ามเนื้อทราพิเซียส จากนั้นให้การรักษาด้วยคลื่นช็อคชนิดเรเดียลร่วมกับวางแผ่นร้อน หลังจากวางแผ่นร้อน 20 นาที สอบถามระดับความเจ็บปวดหลังทำ และกลุ่มที่สองทำเหมือนกับกลุ่มแรกเปลี่ยนจากการวางแผ่นร้อนเป็นแผ่นเย็น ในการรักษาครั้งแรกเพียงครั้งเดียว โดยใช้แบบประเมิณความเจ็บปวด Numeric rating scale

            สรุปผลการวิจัย พบว่าทั้งคลื่นกระแทกร่วมกับการวางแผ่นร้อนและคลื่นกระแทกร่วมกับการวางแผ่นเย็นสามารถลดอาการปวดได้ทั้ง 2 วิธี โดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างทั้ง 2 กลุ่ม

References

กัตติกา ภูมิพิทักษ์กุล,อุทัยวรรณ เล็กยิ่งยง,กิตติ ทะประสพ,เพ็ญทิพา เลาหตีรานนท์ และพัชรี จันตาวงศ์.(2014). การเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาระหว่างการบำบัดด้วยคลื่นช็อคชนิดเรเดียลกับคลื่นเสียงความถี่สูงกับผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังพืดของกล้ามเนื้อทราพิเซียสส่วนบน.กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลตำรวจ,กรุงเทพมหานคร,น.1-3. สืบค้นจาก http://rehabmed.or.th/main/wp-content/uploads/2015/01/L-372.pdf

จันทณี นิลเลิศ. (2017). การรักษาโดยใช้คลื่นกระแทกในผู้ป่วยโรครองช้ำอักเสบเรื้อรังทางกายภาพบำบัด สาขากายภาพบำบัด, ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์ และกายภาพบำบัด, คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล,มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร 10700,น1-6. สืบค้นจาก file:///C:/Users/DELL/Downloads/97672-Article%20Text-243928-1-10-20170830.pdf

ประดิษฐ์ ประทีปะวานิชย์.(2542). Myofascial Pain Syndrome A Common Problem in Clinical Practice. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง. หน้า 10-5,69-111-2

Borg-Stein J, and Simons DG. (2002) Myofascial pain. Arch Phys Med Rehabil.83:40-7

Cacchio A, Paoloni M, Barile A, Don R, Paulis F, and Calvisi V, et l.(2006).Effectiveness of radial shock-wave therapy for calcific tendinitis of the shoulder: single-blind, randomized clinical study. PhysTher.P86:672-82.

Chan P, Sangyong L, Chae-Woo Y, and Kwansub L.(2015).The effects of Extracorporeal shock wave therapy on frozen shoulder patients’pain and functions.

Chung B, and Wiley JP.(2002) .Extracorporeal shockwave therapy: a review. Sports Med;32:851-65.

Claire johnson (2005) Measuring pain. Visual Analog Scale versus Numeric Pain Scale: What is the difference?. Retrieved. 2 ต.ค.2562, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2647033/pdf/main.pdf

Fischer E, and Solomon S. (1965) Physiological responses to heat and cold. In: Licht S, editor. Therapeutic heat and cold. 2nd ed. Baltimore: Waverly Press, p.126-169

Ji HM, Kim HJ, and Han SJ.(2012). Extracorporeal shock wave therapy in myofacial pain syndrome of upper trapezius. Ann Rehabil Med:p 75-80.

Lee SJ, Kang JH, Kim JY, Kim JH, Yoon SR, and Jung KI.(2013). Dose-related effect of extracorporeal shock wave therapy for plantar fasciitis. Ann Rehabil Med;p 37: 379-88.

Nieda KV, Behrens BJ,and Harrer T.(1996) Heat and cold modality. In: Behrens BJ, Michlovitz SL, editor. Physical agents: Theory and practice for the physical therapist assistant. Philadelphia: F. A. Davis;.p.51-80.

Rachlin ES, and Rachlin IS.(2002). Myofascial Pain and Fibromyalgia Trigger Point Manangement. 2nd ed. St. Louis: Mosby;.p.203-15.

Simon DG.(2004).New aspects of myofascial tigger point: etiology and clinical. J Musculoskelet Pain; p.12:15-2

van der Worp H, van den Akker-Scheek I, van Schie H, and Zwerver J.(2013). ESWT for tendinopathy: technology and clinical implications. Knee Surg Sports Traumatol Arthrosc; p.21:1451-8.

Wang CJ. (2003).An overview of shock wave therapy in musculoskeletal disorders. Chang Gung MedJ; p.26: 220-32.

Wang CJ.(2012).Extracorporeal shockwave therapy in musculoskeletal disorders.J Orthop Surg Res; p.7: 11-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย