การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม

ผู้แต่ง

  • นภัสวรรณ สุพัตร หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2023.29

คำสำคัญ:

สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์, เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม, ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์

บทคัดย่อ

             การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ด้วยการประยุกต์ใช้นวัตกรรม Augmented Reality (AR) ในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์แผ่นพับห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) และศึกษาผลการประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ฯ โดยใช้ทฤษฎี ADDIE Model เป็นกระบวนการสร้างและพัฒนานวัตกรรม 5 ขั้นตอน 1) การวิเคราะห์ศึกษาและรวบรวมข้อมูล (Analysis)  2) การศึกษาคัดเลือกวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง (Design) 3) การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (Development) สร้างสรรค์สื่อสิ่งพิมพ์ห้องสมุดดนตรีฯ และสื่อมัลติมีเดียในรูปแบบภาพ เสียง และวิดีโอผ่าน Platform Web Application V-Director & Application V-Player 4) การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม (Implement) ประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมและประเมินความพึงพอใจบุคคลทั่วไปที่มาศึกษาดูงานห้องสมุดดนตรีฯ 5) ดำเนินการทดลองเก็บรวบรวมข้อมูลและปรับปรุงนวัตกรรม (Evaluate) โดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลสถิติจากค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

             ผลการศึกษาพบว่าผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีในภาพรวมด้านกราฟิกและการออกแบบค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมากที่สุด 4.95 ด้านเทคนิคนวัตกรรมค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมากที่สุด 4.90 และด้านเนื้อหาค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมากที่สุด 4.86 ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีทั้ง 5 ท่านเห็นด้วยกับการนำสื่อสิ่งพิมพ์ห้องสมุดดนตรี ไปใช้งานได้จริง ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาพรวมด้านเทคนิคนวัตกรรมค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก 4.35 ด้านกราฟิกและการออกแบบค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก 4.05 และด้านเนื้อหาค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก 3.94 ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีและนวัตกรรมทั้ง 5 ท่านเห็นด้วยกับการนำสื่อสิ่งพิมพ์ห้องสมุดดนตรี ไปใช้งานได้จริง และผลประเมินความพึงพอใจบุคคลทั่วไปภาพรวมด้านกราฟิกและการออกแบบค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมากที่สุด 4.65 ด้านเนื้อหาค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมากที่สุด 4.62 และด้านเทคนิคนวัตกรรมค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมากที่สุด 4.60

References

จิตรนันท์ ศรีเจริญ, ดวงจันทร์ สีหาราช, และอนุพงษ์ สุขประเสริฐ. (2562). แอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยว 8 แหล่งที่ต้องไปในจังหวัดเพชรบูรณ์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(1), 84-94.

นิติศักดิ์ เจริญรูป. (2560). การประยุกต์ใช้ความเป็นจริงเสริมเพื่อนำเสนอข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว : กรณีศึกษาวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10(1), 13-30.

มัติกร บุญคง. (2563, 16 พฤศจิกายน). AR & VR เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารการตลาดในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่. https://www2.rsu.ac.th/sarnrangsit-online-detail/CommArts-Article20.

เรืองนภา ชอไชยทิศ. (2564). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเรื่องแนะนำการใช้บริการของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 14(2), 60-75.

วิภาดา สุขเขียว (2564, 26 พฤศจิกายน). การประยุกต์เทคโนโลยีความจริงเสริมบนโมบายแอปพลิเคชันสำหรับสาธิตการใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายในศูนย์ออกกำลังกาย. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ (The 11 th STOU National Research Conference) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2562). ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับราชบัณฑิตยสภา. https://www.orst.go.th/

อนุมาศ แสงสว่าง และเฉลิมชัย วิโรจน์วรรณ. (2560, 4 เมษายน). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง (Augmented Reality : AR เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่องฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และสิ่งประดิษฐ์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อภิชาต เหล็กดี, วรปภา อารีราษฎร์ และฐิจิมา ผ่องแผ้ว. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิด. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 4(2), 177- 186.

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2561) การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสังคม. https://library.nrru.ac.th.

STEPS ACDEMY. (2563, 28 ตุลาคม) Augmented Reality เทคโนโลยีที่น่าจับตาแม้ในช่วงเวลาพ้นวิกฤต. https://stepstraining.co/social/facebook-ar-technology-for-shopping.

Wikipedia. (2022, 1 November) ADDIE Model. https://en.wikipedia.org/wiki/ADDIE_Model.

Wikipedia. (2022, 1 November) Web application. https://en.wikipedia.org/wiki/Web_application.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย