การพัฒนาสารบบสารเคมีในห้องปฏิบัติการทันตวัสดุ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผู้แต่ง

  • จรรยา ชื่นอารมณ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2022.4

คำสำคัญ:

การจัดการสารเคมี, สารบบสารเคมี, ไมโครซอฟท์แอคเซส

บทคัดย่อ

         โปรแกรมสารบบสารเคมีนี้ ได้จัดทำขึ้นเพื่อควบคุมการใช้สารเคมีให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ในโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย ที่มีชื่อย่อว่า ESPReL ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  แนวปฏิบัตินี้ได้กำหนดให้มีการบันทึกข้อมูลสารเคมีอย่างเป็นระบบ ให้สืบค้นและรายงานข้อมูลที่เป็นปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง การพัฒนาโปรแกรมในครั้งนี้ ได้สำรวจข้อมูลองค์ประกอบที่จำเป็นเกี่ยวกับการจัดการสารเคมี นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อออกแบบ และใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์แอคเซส สร้างโปรแกรมสารบบสารเคมีที่รองรับระเบียบปฏิบัติของห้องปฏิบัติการ นำโปรแกรมมาวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงาน เวลาใช้งาน และจำนวนดัชนีชี้วัดที่ได้ ในแบบสอบถาม ESPReL หัวข้อระบบการจัดการสารเคมี เปรียบเทียบกับระบบเดิมที่จัดเก็บข้อมูลเป็นเอกสารกระดาษ  

         ผลการศึกษาพบว่าการใช้โปรแกรมทำให้ลดขั้นตอนและเวลาเบิก-คืนสารเคมีจาก 7 ขั้นตอน เหลือ 4 ขั้นตอน ลดเวลาจัดทำรายงานสารเคมีคงคลังจาก 15 นาที เหลือเพียง 35 วินาที สามารถจัดทำดัชนีชี้วัดหัวข้อระบบการจัดการสารเคมีได้เพิ่มขึ้น จากเดิม 45 ข้อ (ปี พ.ศ.2561) เป็น 71 ข้อ ได้คะแนนร้อยละ 89.2 สูงกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 85.0 ของห้องปฏิบัติการในโครงการ ESPReL  การพัฒนาโปรแกรมสารบบสารเคมีในครั้งนี้ นอกจากช่วยอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับผู้ดูแลคลังสารและผู้ใช้สารเคมีแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งในการเตรียมความพร้อมของห้องปฏิบัติการเพื่อเข้าสู่มาตรฐานความปลอดภัยต่อไปในอนาคตด้วย

References

ชุติโชติ ปัทมดิลก, สุพจนา สิทธิกูล, และ วรกร วิวัชรากรกุล. (2560).การจัดการสารเคมีของภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการ ปขมท, 6(1), 16-20.

ปิติพร มโนคุ้น และ ภัทรมาศ เทียมเงิน. (2563). การจัดการสารเคมีและของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 19(2), 95-104.

ไทยสมุทร ชูสกุล. (2554). การพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูลสาหรับการบริหารงานเครื่องจักรของหน่วยงานวิศวกรรมและซ่อมบำรุง กรณีศึกษาสายการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์พาร์ทอีวาปอเรเตอร์. (สารนิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).

นันทนี แขวงโสภา. (2551). คู่มือ Access 2007 ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ : โปรวิชั่น.

ไพรินทร์ ต้นพุฒ, พีรพงษ์ ตัวงาม, สุนิษา คงพิพัฒน์, และ สุวรรณา ก่อสุวรรณวงศ์. (2561). การพัฒนาระบบบริหารจัดการผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการของบุคลากรในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 5(2), 60-71.

ศูนย์การจัดการด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (EESH) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2552). คู่มือการใช้ฐานข้อมูลในการบริหารจัดการสารเคมี. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2564, จาก http://www.eesh.kmutt.ac.th/doc/doc_view_t. asp?doc_id=22

สาคร บุญเติม. (2555). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดเก็บประวัติงานบำรุงรักษา กรณีศึกษาหน่วยงานบำรุงรักษาไฟฟ้า โรงไฟฟ้าเอกชน. (สารนิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).

สุรเชษฐ์ มหามนต์ และ อรรถกร เก่งพล. (2561). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดเก็บวัสดุคงคลังหน่วยงานวิศวกรรมซ่อมบำรุง กรณีศึกษาโรงงานผลิตตัดเหล็กม้วน. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 28(3), 547-555.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2555). แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ : ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนิษา คงพิพัฒน์, ณัฑฐา ภัทรวิสิฐเศรษฐ์, และ ณฐมน ทองใบอ่อน. (2559). การพัฒนาโปรแกรม RE Management เพื่อการจัดการฐานข้อมูลเครื่องมือ/อุปกรณ์วิจัย. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 3(2), 12-21.

เอกพงษ์ ทองศรี. (2554). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการวัสดุอะไหล่และการคิดต้นทุนในการดำเนินงานซ่อมของหน่วยงานซ่อมบำรุง. (สารนิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร-มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).

Foster, B. L. (2005). The Chemical Inventory Management System in academia. Chemical Health and Safety, 12(5), 21- 25.

Payne, M. K., Nelson, A. W., Humphrey, W. R., Straut, C. M. (2020). Th Chemical Management System (CMS): A Useful Tool for Inventory Management. Journal of chemical education, 94(7), 1795−1798.

Rooney, T. A. (2001). Chemical inventory tracking. Today's Chemist at work, 10(11), 15-16.

Santos, J. E. R., Alfonso, F. N. N., Mendizabal Jr, F. C., Dayrit, F. M. (2011). Developing a chemical and hazardous waste inventory system. Journal of Chemical Health and Safety, 18(6), 15-18.

Shukran, M. A. M., Abdullah, M. N., Ismail, M. N., Maskat, K., Isa, M. R. M., Ishak, M. S., & Khairuddin, M. A. (2017). Study of Intelligent Secure Chemical Inventory Management System. International Research and innovation Summit (IRIS2017) IOP Publishing IOP Conf. Series: Materials Science and Engineering, 226, 1-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย