การประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ห้องปฏิบัติการเคมีคลินิกไทยโดยองค์กรภายนอก ช่วงปี 2563-2564

ผู้แต่ง

  • สุภาวัลย์ ปิยรัตนวรสกุล กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • นาฎลดา ภาณุรัตน์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • ภัทรวีร์ สร้อยสังวาลย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2021.42

คำสำคัญ:

การประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์, เคมีคลินิก, คะแนนดัชนีความแปรปรวน

บทคัดย่อ

         การประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์โดยองค์กรภายนอกเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบการประกันคุณภาพที่จะสะท้อนคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการได้ระดับหนึ่ง ข้อมูลสามารถนำไปประกอบการพิจารณาวางแผนพัฒนาระบบการประกันคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมได้ รายงานนี้เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากผลการประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์สาขาเคมีคลินิกของห้องปฏิบัติการทั้งภาครัฐและนอกสังกัดภาครัฐ (เอกชน) จำนวน 379 แห่งที่เข้าร่วมโครงการและรายงานผลกลับต่อเนื่องในระยะเวลา 2 ปี (2563-2564)

         วัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอระดับคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการเคมีคลินิกในประเทศไทย ใช้วิธีการประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลกและสมาพันธ์เคมีคลินิกระหว่างประเทศและบ่งชี้ระดับคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ด้วยค่าดัชนีความแปรปรวน (Variance Index Score, VIS) ซึ่ง ค่า VIS ต่ำ แสดงถึงผลการวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการนั้นใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยผลการวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการอื่น ๆ เมื่อนำค่า VIS มาคำนวณหาค่าเฉลี่ยจะได้ค่าความแปรปรวนเฉลี่ย (Mean Variance Index Score, MVIS) ที่แสดงระดับคุณภาพโดยภาพรวมของห้องปฏิบัติการ โดยค่า MVIS น้อยกว่า 50 = ดีมาก MVIS 51-100 = ดี และ MVIS 101-150 = พอใช้ ส่วน MVIS มากกว่า 150 = ควรปรับปรุง

         ผลการศึกษา พบว่า ค่า MVIS ของห้องปฏิบัติการทุกกลุ่มลดลงอย่างต่อเนื่องแสดงว่าระบบคุณภาพมีการพัฒนาดีขึ้นจะปรากฏเด่นชัดในกลุ่มโรงพยาบาลชุมชนซึ่งค่า MVIS ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) น่าจะเป็นผลจากกระแสความสนใจในเรื่องการประกันคุณภาพ ผู้ปฏิบัติงานจึงมุ่งหวังและตั้งใจที่จะพัฒนาระบบคุณภาพให้ได้มาตรฐาน อีกทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรผ่านกระบวนการอบรมฟื้นฟูความรู้และเสริมสร้างประสบการณ์มากขึ้นด้วย จากข้อมูลระดับคุณภาพพบว่าห้องปฏิบัติการภาครัฐมีค่าดัชนีความแปรปรวนเฉลี่ย 6 รอบอยู่ในเกณฑ์ยอมรับที่ MVIS < 150 ร้อยละ 100 ยกเว้นห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลชุมชนมีค่าเฉลี่ย MVIS อยู่ในเกณฑ์ยอมรับเพียงร้อยละ 57 ส่วนห้องปฏิบัติการนอกสังกัดภาครัฐ มีค่าเฉลี่ย MVIS อยู่ในเกณฑ์ยอมรับร้อยละ 85.2

         ดังนั้น 2 กลุ่มหน่วยงานนี้จะต้องให้การสนับสนุนส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่องจะสามารถพัฒนาระดับการตรวจวิเคราะห์ไปสู่มาตรฐานสากลได้

References

International Organization for Standardization. (2016). ISO 13485. Medical devices - Quality management systems requirements for regulatory purposes. 3rd ed. Geneva: International Organization for Standardization (ISO).

International Organization for Standardization. (2015). ISO 13528. Statistical methods for use in proficiency testing by inter-laboratory comparisons. 2nd ed. Geneva: International Organization for Standardization (ISO): 2015.

International Organization for Standardization. (2012).ISO 15189. Medical laboratories - Requirements for quality and competence. 3rd ed. Geneva: International Organization for Standardization (ISO).

International Organization for Standardization. (2010). ISO/IEC 17043:2010 (E). Conformity assessment- General requirements for proficiency testing. 1st ed. Geneva: International Organization for Standardization (ISO).

Whitehead, T. P., Browning, D. M., and Gregory, A. (1975). The role of external quality control schemes in improving the quality of laboratory results. In: Quality Control in Clinical Chemistry, G. Anido, E.J. Van Kampen, S. B. Rosalki, and M. Rubin, eds., New York: Walter de Gruyter Berlin.

World Health Organization. (1994). Health laboratory services in support of primary health care in developing countries. New Delhi: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย