การศึกษาระดับพฤติกรรมการบริการของบุคลากรสายสนับสนุน โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • อนุจิตต์ คงผอม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มัสนันท์ มีสุภาพ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นันทวัน อยู่อาศรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2021.29

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริการ, บุคลากรสายสนับสนุน, โรงพยาบาลทันตกรรม, คณะทันตแพทยศาสตร์

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการบริการและความแตกต่างระหว่างกลุ่มของพฤติกรรมการบริการของบุคลากรสายสนับสนุน โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสายสนับสนุน โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 522 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือแบบบันทึกข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และ one-way ANOVA  ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรสายสนับสนุน โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีพฤติกรรมการบริการในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ด้านที่มีคะแนนสูงสุดคือด้านความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโดยภาพรวม (gif.latex?\bar{x} = 4.60) รองลงมาคือด้านการบริการด้วยความสุภาพ เป็นกันเอง มีความเป็นมิตรและเต็มใจช่วยเหลือ (gif.latex?\bar{x} = 4.56) และจากการเปรียบเทียบปัจจัยด้านอายุ อายุงาน ประเภทการจ้าง ตำแหน่งงาน และระบบการให้บริการ ที่แตกต่างกัน พบว่ามีผลต่อพฤติกรรมการบริการที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นปัจจัยด้านเพศ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน พบว่าไม่มีผลต่อพฤติกรรมการบริการของบุคลากร

References

จันจีรา โสะประจิน. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์: กรณีศึกษา บริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์การศึกษาหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 13.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นุชจิรา ศรีขจรเกียรติ. (2559). พฤติกรรมการบริการของพยาบาลวิชาชีพแผนกผู้ป่วยนอกตามการรับรู้ของผู้รับบริการชาวญี่ปุ่น. วิทยานิพนธ์การศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุบผชาติ อุไรรักษ์และสัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2557). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพบริการสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์ในสังกัด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารพยาบาลทหารบก 15(2) : 298-304

พัชรนันท์ จุมพลพิทักษ์และณักษ์ กุลิสร์. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานของพนักงานประจำ สำนักงานโรงงานประกอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งใน จังหวัดปทุมธานี .วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ 3(1) : 61-77

สิริศา จักรบุญมา,ผศ.ดร.ถวัลย์ เนียมทรัพย์. (2557).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงานฝ่ายบำรุงรักษาในรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 40(1) : 180-193

อริสรา อินทรขุนทศ ,อภิชาติ ใจอารีย์ ,ประสงค์ ตันพิชัย. (2557).ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการให้บริการของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงแรมระดับ 3 ดาวในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(3) (กันยายน – ธันวาคม)

อุไร ดวงระหว้า. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพการให้บริการศูนย์บริการ One Stop Service : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Hurley, R.E., and Esteiami, H. (1998). Alternative indexes for monitoring customer perception of service quality: A comparative evaluation in a retail context. Journal of the Academy of Marketing Science.26 (3), 209-221.

Matteson, M.I. (2011). Organizational Behavior and Management. 9th ed. New York : McGraw-Hill.

Palank, C.L. (1991). Determinants of health promotion behavior. Nursing Clinics of North America, 26, 814-831.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย