การประยุกต์ใช้ระบบคิวอาร์โค้ด (QR Code) และยูทูป (YouTube) สำหรับการบริหารจัดการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ

ผู้แต่ง

  • ปภาอร เขียวสีมา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สุวัฒน์ คำลือ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สุรเชษฐ์ กันทะคำ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ณฐกร คำแก้ว คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • เจษฎา เปาจีน สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • รุจโรจน์ แก้วอุไร สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2022.5

คำสำคัญ:

คิวอาร์โค้ด, ยูทูป, เครื่องมือวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ของห้องปฏิบัติการสรีรวิทยาด้วยระบบ คิวอาร์โค้ด (QR Code) ร่วมกับยูทูป (YouTube) และ เพื่อประเมินความพึงพอใจโดยรวมของผู้ใช้งานระบบการบริหารจัดการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ของห้องปฏิบัติการสรีรวิทยา ด้วยระบบ QR Code และการเผยแพร่วีดีโอร่วมกับ YouTube โดยการสร้างระบบ QR Code และ YouTube ขึ้นมาใช้กับเครื่องมือวิทยาศาสตร์ และสำรวจความพึงพอใจจาก บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์และนิสิตที่เรียนปฏิบัติการรายวิชาสรีรวิทยา เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลและวิธีทางสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย paired t-test

         ผลการวิจัยพบว่า QR code ร่วมกับ YouTube สามารถนำมาประยุกต์ใช้พัฒนาระบบได้เป็นอย่างดี จากการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบจำนวน 222 คนพบว่า ระบบ QR Code มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ 4.42 และระบบ YouTube  มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ 4.36  ซึ่งอยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย paired t-test แล้วพบว่าเป็นไปตามสมมติฐานคือ ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน การประยุกต์ใช้ระบบ QR Code และ YouTube สำหรับการบริหารจัดการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการสรีรวิทยา หลังการปรับปรุง มากกว่าก่อนการปรับปรุง ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

         จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า การประยุกต์ใช้ระบบ QR code และ YouTube กับห้องปฏิบัติการช่วยให้การบริหารจัดการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ของห้องปฏิบัติการมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยประหยัดเวลาค่าใช้จ่ายและแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการได้

Author Biographies

สุวัฒน์ คำลือ, คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา

สาขาวิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา

สุรเชษฐ์ กันทะคำ, คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา

สาขาวิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ณฐกร คำแก้ว, คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา

สาขาวิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา

เจษฎา เปาจีน, สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

รุจโรจน์ แก้วอุไร, สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

References

กิตติศักดิ์ นคร, ธนศักดิ์ ภารสาร, สุวรรณี ดัชนีย์, สุกฤต ศิริขวัญพงศ์ และ อดิษฐ์ จิร. (2562). การประยุกต์ใช้ QR Code เพื่อตรวจสอบและรายงานสถานะการทำงานประจำวัน ของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ. ใน สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, หนังสือประมวลบทความ (proceeding) การประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 11 “ทองกวาววิชาการ’62 : ส่งเสริมงานวิจัย พัฒนางานพัฒนาองค์กร”. (11 , 1135 369 ) เชียงใหม่ : สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จินตนา พลศรี. (2556). การพัฒนาระบบสืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาด้วย QR Code. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

เจษฎา เปาจีน, รุจโรจน์ แก้วอุไร. (2020). การประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูลครุภัณฑ์ออนไลน์ของคณะ สาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. Journal of Information and Learning, 31(3), 37.

ธัญญา อุตราภรณ์, และ เยาวลักษณ์ เก้าเอี้ยน. (2562). ประสิทธิภาพระบบ QR Code เพื่อควบคุมเครื่องมือวิทยาศาสตร์ กรณีศึกษา กลุ่มสาขาวิชาจิตรกรรม และศิลปกรรม วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, 2. 1.

พินทุสร ปัสนะจะโน, ตะวัน ขุนอาสา, ธนา จันทร์อบ และราเมศวร์ พร้อมชินสมบัติ. (2560). การใช้รหัสคิวอาร์โค้ดบนระบบปฏิบัติการบนมือถือเพื่อการบริหารจัดการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ . ศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9, 88.

สมบัติ ศรีวรรณงาม. (2562). การสร้างและประยุกต์ใช้ Quick Response Code (QR Code) ในการเก็บข้อมูลเพื่อใช้บริหารจัดการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ของภาควิชาพฤกษศาสตร์. ใน สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, หนังสือประมวลบทความ (proceeding) การประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 11 “ทองกวาววิชาการ’62 : ส่งเสริมงานวิจัย พัฒนางานพัฒนาองค์กร”. (11, 1135 471). เชียงใหม่ : สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุษา มั่นยืนยง, สุกฤต ศิริขวัญพงศ์ และทิพยเนตร อริยปิติพันธ์.(2562). การพัฒนาระบบบริหารจัดการเครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์และของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ ด้วย QR Code ร่วมกับ Google Drive Services. ใน สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, หนังสือประมวลบทความ (proceeding) การประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 11 “ทองกวาววิชาการ’62 : ส่งเสริมงานวิจัย พัฒนางานพัฒนาองค์กร”. (11 , 1135 377) เชียงใหม่ : สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Mindphp. (2562). QR Code (คิวอาร์ โค้ด) คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2563,จากhttps://www.mindphp.com.

Briseno, M. V., Hirata, F.I. Lopez, J.D.S. Garcia, E.J. Cota, & C.N. Hipolito, J.I.N. 2012. Using RFID/NFC and QR-Code in Mobile Phones to Link the Physical and the Digital World. In. Ioannis Deliyannis. Interactive Multimedia. (3, 242 219). Maxico : IntechOpen Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย