แนวปฏิบัติสำหรับสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ในแผนกเอกซเรย์ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • สมลักษณ์ จำรูญสาย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศุภวรรณ จิวะพงศ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จารุวรรณ สันตินันท์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2022.21

คำสำคัญ:

โควิด-19,เอกซเรย์ปอด, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์, เครื่องมือทางการแพทย์

บทคัดย่อ

            จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 หรือ Coronavirus Disease 2019 ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ SARS-CoV-2 (Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2) ได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วทั่วโลก แผนกเอกซเรย์จึงจำเป็นต้องมีแนวปฏิบัติสำหรับสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID -19 เป็นมาตรการสำคัญ เพื่อให้บุคลากรในแผนกเอกซเรย์ที่เวียนปฏิบัติงานได้ปฏิบัติงานตามแนวทางเดียวกัน เมื่อต้องปฏิบัติงานเอกซเรย์เคลื่อนที่ และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อนำภาพทางรังสีไปวินิจฉัยโรค ติดตามอาการผู้ป่วย และใช้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการวางแผนการรักษาผู้ป่วยต่อไป เพื่อเป็นการส่งเสริมการควบคุม และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับนโยบายสาธารณสุขของประเทศ เมื่อบุคลากรในแผนกเอกซเรย์ให้บริการผู้ป่วยโดยปฏิบัติตามแนวปฏิบัติสำหรับสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 นี้ จะช่วยควบคุมความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ ส่งผลให้ลดการติดเชื้อของโรคทางเดินหายใจ และโรคอื่น ๆ ในแผนกเอกซเรย์ได้

References

กรมการแพทย์ร่วมกับคณะทำงานด้านการรักษาพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข คณะแพทย์จากมหาวิทยาลัยและสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ. (2563, 20 เมษายน). คำแนะนำการใช้อุปกรณ์ส่วนบุคคลป้องกันการติดเชื้อ (Personal Protective Equipment). https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_health_care/g07_ppe_200463.pdf.

คณะกรรมการพิจารณาแนวทางการปฏิบัติทางรังสีวิทยาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจในโรงพยาบาล ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย และคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค. (2564, 18 มกราคม). แนวปฏิบัติในการตรวจทางรังสีวิทยาในผู้ป่วยต้องสงสัย COVID-19 และผู้ป่วยโรค COVID-19 (PUI and Confirmed cases of COVID-19) สำหรับแผนกรังสีวิทยา และเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิคที่เกี่ยวข้อง. https://www.rcrt.or.th/wp-content/uploads/2021/03/Practice-Guideline-in-COVID-era-Final-ฉบับปรับปรุงข้อมูล-18-มกราคม-2564.pdf.

ชัยวัฒน์ เชิดเกียรติกุล, ภัชภิชา แสงจันทร์ และสุพรรณี ลิอุโมงค์. (2558). การดูแลรักษา และตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากรังสีในงานรังสีวินิจฉัย. วารสารรังสีวิทยาศิริราช, 2(1), 55-63.

วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร. (2563). อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลสำหรับโควิด-19 ของบุคลากรทีมสุขภาพ. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและผดุงครรภ์ไทย, 7(1), 7-24.

ศูนย์สุขภาพแนวหน้ารามาธิบดี. (2564, 10 พฤษภาคม). 7 วิธีล้างมือให้สะอาดป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19. https://www.rama.mahidol.ac.th/frontier/th/KMhandswash.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2563, 24 มีนาคม). การประยุกต์ใช้เสื้อกันฝนเพื่อเป็นชุดคลุม PPE. https://www.youtube.com/watch?v=dWvVxVbTnCQ.

แสงระวี สักกะวงศ์, พนิดา กุลธรรม, และยุภาวดี ชูเนตร. (2564). แนวทางการป้องกันการแพร่กระจายโรค COVID-19 จากการใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วย. เวชบันทึกศิริราช SIRIRAJ Medical Bulletin, 14(1), 41-49.

องค์การอนามัยโลก. (2563, 19 มีนาคม). การควบคุม และป้องกันการติดเชื้อระหว่างการให้การดูแลในสถานบริการสาธารณสุข เมื่อพบผู้ต้องสงสัยป่วยเป็นโรคโควิด-19. https://cdn.who.int/media/docs/default-source/searo/thailand/การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อระหว่างการให้การดูแลในสถานบริการสาธารณสุข เมื่อพบผู้ต้องสงสัยป่วยเป็นโรคโควิด-19.pdf.

Wu, D., Wu, T., Liu, Q., & Yang, Z. (2020). The SARS-CoV-2 outbreak: What we know. Journal of Infectious Diseases, 94, 44-48. doi:10.1016/j.ijid.2020.03.004

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-25

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ