การสำรวจสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาเกาหลี: มุมมองของผู้เรียนต่อการพัฒนาศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2022.9คำสำคัญ:
สภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาเกาหลี, ผู้เรียน, ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมเอเชียบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนการสอนภาษาเกาหลีของศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 2) นำเสนอข้อมูลที่ได้มาเป็นแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาเกาหลีให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และสถานการณ์ปัจจุบัน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ลงทะเบียนเรียนภาษาเกาหลีในภาคการศึกษาที่ 1/2563 จำนวน 34 คน และแนวคำถามสัมภาษณ์ใช้กับผู้บริหารและผู้เรียนภาษาเกาหลี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบสอบถามปลายเปิด และจากแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง
ผลการวิจัย พบว่า
1. ในภาพรวม ผู้เรียนส่วนใหญ่เห็นว่าสภาพการจัดการเรียนการสอนด้านผู้สอนอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด
มีคะแนนเฉลี่ย 4.56 ส่วนองค์ประกอบด้านอื่นมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การเรียนการสอน ปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน หลักสูตร และผู้เรียน ตามลำดับ
2. เมื่อพิจารณารายข้อ ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ (1) ผู้สอนสามารถตอบข้อซักถามของผู้เรียนได้ถูกต้องและชัดเจน (x̄=4.91) (2) ผู้สอนมีความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนเป็นอย่างดี
(x̄=4.88) (3) ผู้สอนมีบุคลิกภาพที่ดีเหมาะสมระหว่างการสอน (x̄=4.79) (4) ผู้สอนอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน และเข้าใจง่าย (x̄=4.76) และ (5) ผู้สอนมีเทคนิคการสอนทันสมัย และเหมาะสมกับเนื้อหาวิชาที่เรียน (x̄=4.65)
3. ข้อเสนอแนะจากการวิจัยต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาเกาหลี พบว่า ผู้เรียนให้ความสำคัญกับตัวผู้สอนในการพัฒนาตนเองด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียน และพัฒนาวิธีการนำเสนอการเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้เรียน ข้อเสนออื่น ๆ ได้แก่ พัฒนาสื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมการเรียนรู้ และวิธีการวัดประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
References
กนกวรรณ สาโรจน์. (2560). แนวทางการสอนคำศัพท์ภาษาเกาหลีแก่ผู้เรียนชาวไทย: กรณีคำศัพท์ ภาษาเกาหลีแท้. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(49),1-11.
กนกวรรณ สาโรจน์. (2563). รายงานการวิจัยลักษณะการแปลเนื้อความภาษาเกาหลีของผู้เรียนชาวไทย: กรณีศึกษานิสิตวิชาเอกภาษาเกาหลี มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
กัลปพฤกษ์โชคสิริ โชคดีมีสุข. (2558). การเตรียมความพร้อมด้านภาษาจีนในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสาร มฉก.วิชาการ, 19(37), 153-161.
จินตนา วิเศษจินดา. (2560). แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับมัธยมตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิรภา คำทา. (2558). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสอนของอาจารย์กับพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. วารสาร Veridian E-Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 1528-1542.
ณิชาภัทร จาวิสูตร อัจฉรา วัฒนาณรงค์ และสุวพร ตั้งสมวรพงษ์. (2556). การจัดการเรียนการสอน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามความคิดเห็นของนิสิต.วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(9), 67-80.
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2563). การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2563 จาก https://th.city/dP2s.
ทิพย์ธิดา สกุลทองอร่าม, อมรรัตน์ ค้าทวี และวรรณวิศา ใบทอง. (2561). แรงจูงใจในการเรียนภาษาเกาหลี: กรณีศึกษาของนักศึกษาวิชาเอกภาษาเกาหลีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. ในการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2. หน้า 1610.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธเนศ สายจิตบริสุทธิ์(2563). การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับการเตรียมสอบวัดความสามารถทางภาษาเกาหลี (EPS-TOPIK). วารสารครุศาสตร์สาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 14(1), 212-225.
นริศ วศินานนท์. (2559). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 9(2), 263-264.
บัณฑิต ทิพากร. (2550). การพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา. ในไพฑูรย์ สินลารัตน์ (บรรณาธิการ) อาจารย์มืออาชีพ: แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปริศวร์ ยิ้นเสน. (2551). รายงานการวิจัยภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่สะท้อนในสื่อหนังสือพิมพ์รายวันเกาหลี. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลา- นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ปรียาภรณ์ เฮอร์ริงตัน. (2555). รายงานวิจัยเรื่องการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ รายวิชา HTM411 กลยุทธ์การจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
พระราชรัตนมงคล, ดร. (มนตรี อภิมนฺติโก, ยางธิสาร. (2560). การศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อวิธีการสอนของศูนย์สอนภาษาเกาหลีในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้). บทความวิชาการ (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 จาก http://montri001.blogspot.com/2017/05/blog-post.html
ภัทรพร บุญนำอุดม. (2563). ห้องเรียนในฝันของการศึกษาศตวรรษที่21: บทบาทสำคัญของห้องเรียน ในการส่งเสริมการเรียนรู้ในโลกสมัยใหม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2563 จาก http://www.tcdc.or.th/articles/design_creativity/25279/.
มธุมน จินากุล. (2558). แรงจูงใจที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกเรียนภาษาเกาหลี ในสถาบันสอนภาษาของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. จุลนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. หน้า 1-51.
รวิชญุฒม์ ทองแม้น, สุชาดา กรเพชรปาณี และปิยะทิพย์ ประดุจพรม.(2560) การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนโดยประยุกต์กระบวนการประเมิน เพื่อพัฒนาผู้เรียนสำาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา.ปีที่ 15 (2), 133-146
รัฐพร ศิริพันธุ์. (2561) แนวทางการเตรียมความพร้อมและวิธีการเรียนสำาหรับผู้เริ่มเรียนภาษาจีน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 103-112.
วิจารณ์ พานิช. (2556). สนุกกับการเรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วีซานา อับดุลเลาะ และวุฒิชัย เนียมเทศ. (2563). การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 “แนวคิด ทฤษฎี และแนวทางปฏิบัติ”. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 242-243
วันเพ็ญ เหล่าฤทธิ์. (2555). ผลการจัดการชั้นเรียนแบบคละอายุที่มีต่อความมีน้ำใจของเด็กปฐมวัยโรงเรียนบ้านป่ายาง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการปฐมวัยศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ศศิธ์อร บุญวุฒวิวัฒน์ และอมรรัตน์ วัฒนาธร. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาเกาหลีเบื้องต้นสำหรับแรงงานไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 214-229.
ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย. (2563). “แผนการปฏิบัติงาน ปีงบประมาณ 2562-2564”. ในเอกสารประกอบการประชุมแผนกลยุทธ์สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา. (2562). “ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น”. ในรายงานผลการดำเนินงานประจำปีการศึกษา 2561. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558.) เอกสารประกอบการฝึกอบรม “คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการ เรียนรู้”. สระแก้ว: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.
อรรณพ จีนะวัฒน์. (2559). การพัฒนาตนของผู้ประกอบวิชาชีพครู.วารสารวิชาการ Veridian E –Journal, (ฉบับภาษาไทย) สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 1379-1395.
อารียา สตารัตน์. (2556). ) การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตราชเทวี. (สารนิพนธ์ กศ.ม. การบริหารการศึกษา). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, บทคัดย่อสืบค้นจาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Adm/Areeya_S.pdf
อัชรา เอิบสุขสิริ. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัญชลี จันทร์เสม, วาสนา นามพงศ์, สมบุญ ปิยะสินธ์ชาติ, อภิณห์พร ฤกษ์อนันต์, ศุภชัย จังศิริวิทยากร, เหงียน ถิ เจียม และเฉิ่น ถิ บิ๊ก ถาว. (2559). ทักษะในศตวรรษที่ 21 กับการจัดการศึกษาภาษาต่างประเทศ: จากนโยบายถึงผู้สอน. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 9(2), 114-123.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Mahidol R2R e-Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.