การศึกษาความรู้ความเข้าใจและความพึงพอใจในการเข้าร่วมอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของนักวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • ดวงวิไล ไทยแท้ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2021.9

คำสำคัญ:

จริยธรรมการวิจัย, ความพึงพอใจ, การอบรม

บทคัดย่อ

            ในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์นั้น นักวิจัยต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัยเป็นสำคัญ ซึ่งการอบรมจริยธรรมการวิจัยนับเป็นกระบวนการหนึ่งในการส่งเสริมเรื่องดังกล่าว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประโยชน์ในการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจที่ผู้เข้าร่วมการอบรมได้รับจากการอบรม รวมถึงการศึกษาระดับความพึงพอใจในการเข้ารับการอบรม ประชากรในการศึกษา คือ ผู้เข้าร่วมการอบรมจำนวน 154 คน จากการอบรมทั้งหมด 3 ครั้ง โดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลผ่านสถิติความถี่ ร้อยละ ความทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่สัมพันธ์กัน (paired t-test),  การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระจากกัน (independent t-test), การทดสอบ ANOVA และสหสัมพันธ์ ผลการทดสอบ Paired t-test พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าคะแนนความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นตามสถานภาพการทำงานด้วยการทดสอบ One-way ANOVA พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มนักวิจัยหน้าใหม่ ได้แก่ นักศึกษา นักวิจัยผู้ช่วย และเจ้าหน้าที่ มีค่าคะแนนความรู้ที่ได้รับเพิ่มขึ้นสูงกว่ากลุ่มอื่น ได้แก่กลุ่มอาจารย์ และ นักวิจัย ซึ่ง ชี้ให้เห็นว่า การอบรมฯ ช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมให้มากขึ้น ดังนั้นการจัดอบรมจึงเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการให้ความรู้ความเข้าใจประเด็นจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โดยเฉพาะนักวิจัยรุ่นใหม่  ทั้งนี้การศึกษานี้สะท้อนรูปแบบของหลักสูตรที่เป็นหลักสูตรในระดับพื้นฐานที่เหมาะกับนักวิจัยรุ่นใหม่ และสะท้อนแนวทางการพัฒนาหลักสูตรในอนาคต โดยควรมีการจัดอบรมเนื้อหาเชิงลึก (intensive) เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับกลุ่มนักวิจัยที่มีประสบการณ์สูงร่วมด้วย

References

Cohen, E. (2017). Employee training and development. In CSR for HR (pp. 153-162). Routledge.

Tannenbaum, S. I., & Yukl, G. (1992). Training and development in work organizations. Annual review of psychology, 43(1), 399-441.

Aguinis, H., & Kraiger, K. (2009). Benefits of training and development for individuals and teams, organizations, and society. Annual review of psychology, 60, 451-474.

Bergman, N., Rosenblatt, Z., Erez, M., & De-Haan, U. (2011). Gender and the effects of an entrepreneurship training program on entrepreneurial self-efficacy and entrepreneurial knowledge gain. International Journal of Entrepreneurship and Small Business, 13(1), 38-54.

Lal, B., & Tandon, V. (2011). Impact of vocational training programmes on knowledge gain by the rural youths. Journal of Community Mobilization and Sustainable Development, 6(2), 174-176.

Penton-Voak, I. S., Bate, H., Lewis, G., & Munafò, M. R. (2012). Effects of emotion perception training on mood in undergraduate students: randomised controlled trial. The British Journal of Psychiatry, 201(1), 71-72.

Faerman, S. R., & Ban, C. (1993). Trainee satisfaction and training impact: Issues in training evaluation. Public productivity & management review, 299-314.

ชุลีกร ธนธิติกร และณัฐรัฐ ธนธิติกร. (2556). จริยธรรมการวิจัยในมนุษยกับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 2(1), 29-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-23

ฉบับ

บท

บทความวิจัย