การยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเคมี L-210 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ตามมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กาญจนา สุรีย์พิศาล วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2021.5

คำสำคัญ:

สถานภาพความปลอดภัย, การวิเคราะห์ช่องว่างของความปลอดภัย, ESPReL Checklist

บทคัดย่อ

            การยกระดับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการทำงานในห้องปฏิบัติการเคมี ที่ต้องเกี่ยวข้องกับสารเคมีหลากหลายชนิดซึ่งมีความเป็นอันตรายและมีความเสี่ยงสูง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและประเมินสถานภาพความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี L-210 ของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี และดำเนินการยกระดับความปลอดภัยตามแนวทางคู่มือการประเมินความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ จากการสำรวจสถานภาพความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ก่อนการดำเนินการพัฒนายกระดับโดยใช้แบบสำรวจ ESPReL Checklist พบว่าระดับการประเมินความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ คิดเป็นร้อยละ 52.40 จึงทำการวิเคราะห์ช่องว่างของความปลอดภัย (GAP Analysis) และจัดทำแผนยกระดับความปลอดภัยโดยการจัดลำดับความสำคัญ (Set Priority) และดำเนินการพัฒนาองค์ประกอบความปลอดภัย ซึ่งประกอบด้วย การบริหารระบบจัดการความปลอดภัย ระบบการจัดการสารเคมี ระบบการจัดการของเสีย ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ ระบบป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย และการจัดการข้อมูลและเอกสาร จากการพัฒนายกระดับความปลอดภัย พบว่าห้องปฏิบัติการมีสถานภาพความปลอดภัยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 97 สรุปได้ว่าห้องปฏิบัติการมีการจัดการความปลอดภัยที่ดีขึ้น ผลการศึกษาวิจัยนี้สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีในการพัฒนาระบบความปลอดภัยให้กับห้องปฏิบัติการอื่น ๆ ของวิทยาเขตกาญจนบุรี และห้องปฏิบัติการของหน่วยงานต่าง ๆ ได้ ตลอดจนเป็นแนวทางในการจัดทำคู่มือมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการของวิทยาเขตกาญจนบุรีต่อไป

References

กองแผนงาน มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2561 จากhttps://op.mahidol.ac.th/pl/mahidol_university_strategic_plan_2018-2037

ฉัตรชัย วิริยะไกรกุล. (2558). การพัฒนาตัวอย่างห้องปฏิบัติการวิจัยปลอดภัยในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2562 , จาก https://www.arch.chula.ac.th/ejournal/files/article/107_20160106153022_PB.pdf

ปวีณา เครือนิล, ดวงกมล เชาวน์ศรีหมุด, เบญจพร บริสุทธิ์. (2556). การพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการโลหะและธาตุปริมาณน้อย. Bulletin of Applied Science, 2(2), 55-61.

พรเพ็ญ ก๋ำนารายณ์. (2558). ผลการสำรวจชี้บ่งอันตรายและ วิเคราะห์ความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(4), 667-681.

ศูนย์บริหารความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM). (2562). กระบวนการทำแผนยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี. เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562 , จากการประชุมโครงการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย. (2558). คู่มือการประเมินความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2561 , จาก http://esprel.labsafety.nrct.go.th/files/ESPReL-Book2.pdf

Karapantsios, T.D., Boutskou, E.I., Touliopoulou, E. & Mavros, P. (2008). Evaluation of chemical laboratory safety based on student comprehension of chemicals labeling. Education for Chemical Engineers, 3(1), e66-e73.

Young, J.A. (2003). Safety in academic chemistry laboratories. Washington, DC:American Chemical Society.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-23

ฉบับ

บท

บทความวิจัย