การศึกษากระติกบรรจุส่วนประกอบของโลหิตชนิดเม็ดเลือดแดงเพื่อการขนส่ง
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2021.3คำสำคัญ:
กระติกบรรจุส่วนประกอบของโลหิตชนิดเม็ดเลือดแดง, อุณหภูมิ, ธนาคารเลือดบทคัดย่อ
การศึกษาหาวิธีการบรรจุส่วนประกอบของโลหิตชนิดเม็ดเลือดแดงเพื่อการขนส่งให้เป็นไปตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลกกำหนด คืออุณหภูมิอยู่ในช่วง 1-10°C ระหว่างการขนส่งจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยมาโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการรักษาสภาพของโลหิตให้ปลอดภัยที่สุดกับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องรับเลือด วัสดุอุปกรณ์ ภาชนะบรรจุส่วนประกอบของโลหิต Gel Pack เก็บความเย็น แผ่นโฟมห่อแผ่นฟอยด์ Data logger ที่ผ่านการ Calibrate แล้ว ถุงเลือดชนิด Leukocyte Poor Packed Red Cells (LPRC) ที่หมดอายุแล้ว วิธีการศึกษา หาวิธีการจัดเตรียมภาชนะ ทำการวัดอุณหภูมิภายในกระติก โดยใช้ Data logger เก็บข้อมูลอุณหภูมิลงในคอมพิวเตอร์ เก็บข้อมูลทุก ๆ 1 นาที ทำการวัด 3 ครั้ง/จำนวนยูนิต ภายในเวลา 6 ชั่วโมง ผลการศึกษา วิธีการบรรจุภาชนะพบว่าการขนส่งเลือดตามระบบข้างต้นสามารถรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในช่วง 1-10 °C ได้ภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง
References
จอมจิน จันทรสกุล. (2551). การจัดเก็บและการจัดส่งโลหิตและส่วนประกอบของโลหิต. โลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต, 18(3), 243-247.
พรทิพย์ รัตจักร์, วิโชติ บุรพชนก และ ทัศนีย์ สกุลดำรงพานิช. (2556). การบรรจุหีบห่อเพื่อการขนส่งส่วนประกอบโลหิตด้วยกล่อง Expandable Polypropylene (EPP Box), Gel ทำความเย็น Butanediole Gel (BD gel) และ Gel Ice. โลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต,23(4), 255- 268.
รัชนี โอเจริญ.(2550). Blood Cold Chain. โลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต, 17(1), 55-60.
อัมพวัน ภาคภูมิพงศ์.(2550). WHO Blood Cold Chain Program.โลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต, 17 (1), 3-5.
สร้อยสอางค์ พิกุลสด. (2551). Blood Cold Chain. โลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต, 18(3), 181-182.
Bond, K. (2002). The Blood Cold Chain. Geneva: World Health Organization.
David Mvrer. (2005). Manual on the management, maintenance and use of blood cold chain equipment. Geneva: World Health Organization.