การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ทันตวิภาคฟันน้ำนม

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ประภากรธรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุวรรณี ตั้งไพศาลกิจ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ณัฐกฤษ บุญเรศ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2023.7

คำสำคัญ:

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, ทันตวิภาคฟันน้ำนม, เรียนรู้ด้วยตนเอง

บทคัดย่อ

           การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาความคิดเห็นต่อการใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ทันตวิภาคฟันน้ำนม เป็นการประเมินคุณภาพในด้านต่าง ๆ ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ใช้ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยมีผู้เชี่ยวชาญที่เป็นอาจารย์ทันตแพทย์ จำนวน 9 ท่าน ประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบ่งการประเมินคุณภาพออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านรูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวม ( gif.latex?\bar{x} = 4.61, S.D. = 0.55) ด้านคุณภาพของรูปภาพประกอบ มีค่าเฉลี่ยโดยรวม ( gif.latex?\bar{x} = 4.67, S.D. = 0.53) ซึ่งค่าเฉลี่ยทั้ง 2 ด้านนี้ อยู่ในระดับดีมาก   

           ผลการวิจัยหลังจากนำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไปใช้กับนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 84.70 โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป พบว่าส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 52.78 นักศึกษาใช้ Tablet เป็นอุปกรณ์ในการเข้าถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 88.89 ใช้ IOS เป็นระบบปฏิบัติการที่เข้าถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 98.44 และใช้ Safari เป็น Browser ในการเข้าถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 76.39 ตอนที่ 2 ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( gif.latex?\bar{x} = 4.27, S.D. = 0.64) โดยแบ่งความคิดเห็นที่มีต่อการใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 3 ด้าน พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นด้านรูปภาพประกอบมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.37, S.D. = 0.63) รองลงมา คือ ด้านการใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( gif.latex?\bar{x} = 4.30, S.D. = 0.69) และด้านรูปแบบหนังสือ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( gif.latex?\bar{x} = 4.15, S.D. = 0.60) ตามลำดับ ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะ พบว่า นักศึกษาต้องการให้มีการดาวน์โหลดไฟล์หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ .PDF เพื่อสามารถทบทวนบทเรียนได้ในกรณีที่ไม่มีสัญญาณ Internet

References

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563, 2 กันยายน). Dent MU elearning. DTMoodel faculty of dentistry. https://dtmoodle.mahidol.ac.th/

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2540). นวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2000. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

จารุพิมพ์ เกียรติประจักษ์ และ นันทินี นันทวณิชย์ แสงไฟ. (2561). เอกสารประกอบการสอนฟันน้ำนม[เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะทันตแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

ปิลันธนา สงวนบุญญพงษ์. (2542). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสม เรื่อง สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].

มะลิฉัตร เอื้ออานันท. (2530). ทฤษฎีศิลปศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

สุรพงษ์ คงสัตย์ และ ธีรชาติ ธรรมวงค์. (2551). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). mcu. https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329

เผชิญ กิจระการ. (2542). การวิจัยและทฤษฎีเทคโนโลยี การศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (2563, 18 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก และ เล่ม 119 ตอนที่ 123 ก. หน้า 37

พัดชา อินทรัศมี. (2555). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การใช้ห้องสมุดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. thesis.swu. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Tech/Phatcha_I.pdf

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2555). แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา: โอกาสและความท้าทาย. Sornorkid. http://www.sornorkid.com/PPTTablet/PPT_unit4/4_1.pdf

Gagne, M. R., Briggs, J,L., & Wagar, W. (1974). The principles of instructional design (4th ed.). Holt. 99-119.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย