การพัฒนาเทมเพลตหลักสูตรระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ผู้แต่ง

  • วิศณี จินดารัตน์ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2021.41

คำสำคัญ:

เทมเพลต, หลักสูตร, ปริญญาตรี

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดทำเทมเพลตหลักสูตรระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่สอดคล้องกับมาตรฐานกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของอาจารย์ผู้ประสานงานหลักสูตรต่อการใช้เทมเพลตหลักสูตรระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์ผู้ประสานงานหลักสูตรระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 17 คน ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญแลมีประสบการณ์ในการควบคุมมาตรฐานหลักสูตร จำนวน 3 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม ซึ่งผ่านการทดสอบค่าความตรงเชิงเนื้อหาแล้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา

           ผลการวิจัยพบว่า 1) เทมเพลตหลักสูตรระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีความสอดคล้องกับมาตรฐานกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และ 2) อาจารย์ผู้ประสานงานหลักสูตรมีความพึงพอใจต่อการใช้เทมเพลตหลักสูตรระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .05

References

กัญจนพร จันทร์คำ. (2562). คู่มือปฏิบัติงานการตรวจรูปแบบหลักสูตร มคอ.2. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558. (2558). ราชกิจการนุเบกษา (เล่มที่ 132). ตอนพิเศษ 295ง 5-6 (13 พฤศจิกายน)

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558. (2558). ราชกิจการนุเบกษา (เล่มที่ 132). ตอนพิเศษ 295ง 25-30 (13 พฤศจิกายน)

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, ปรางทิพย์ เสยกระโทก และนพมาศสิริ วงศ์บา. (2554). “การพัฒนาระบบไอซีทีเพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้รายวิชาการวิจัยทางการศึกษา.”วารสารสารสนเทศศาสตร์, 29, 3 (กันยายน-ธันวาคม), 1-13.

ไมตรี ริมทอง และชัดชัย แก้วตา. (2557). การจัดการงานเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

รัตนาภรณ์ ศรีหาพล และรอปีมิง แมะเราะ. (2556). รายงานการวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจต่อการใช้บริการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ยะลา: มหาวิทยาลัย-ราชภัฏยะลา.

วรรศร จันทรโสลิด.(2560).การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในองค์กร กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. งานค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร, วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย-ธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.(2558). มคอ.2 รายละเอียดหลักสูตร. ค้นเมื่อ สิงหาคม 13,2563, จาก http://www.mua.go.th/users/bhes/front_home/catalog_form/Report_02-06-2558-12062560/2558-2- Programme%20Specification.pdf

สุคนธ์ทิพย์ คำจันทร์ และสุปราณี วงษ์แสงจันทร์. (2562). “การวิจัยและพัฒนาต้นแบบซอฟต์แวร์ระบบการจัดทำรายละเอียดรายวิชาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ: กรณีศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13,2 (พฤษภาคม-สิงหาคม), 115-131

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย