การศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อป้ายวงล้อแสดงระยะเวลาของโรคไข้เลือดออกในหอผู้ป่วยพิเศษ
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2022.6คำสำคัญ:
ป้ายวงล้อแสดงระยะเวลาของโรคไข้เลือดออก, ความพึงพอใจ, การสื่อสารในหอผู้ป่วยบทคัดย่อ
ผู้ป่วย ญาติและผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเดงกี ควรมีความรู้เข้าใจถึงการสังเกตอาการและปฏิบัติตนในแต่ละช่วงระยะเวลาดำเนินโรค ซึ่งเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการรักษา ทีมผู้วิจัยจึงได้จัดทำป้ายวงล้อแสดงระยะเวลาของโรคไข้เลือดออก โดยมีรายละเอียด ดังนี้ แบ่งระยะการดำเนินโรคเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1.ระยะไข้ 2.ระยะวิกฤต/ช็อก 3.ระยะฟื้นตัว ซึ่งแต่ละช่วงภายในป้ายวงล้อ มีอาการสำคัญที่ต้องสังเกตและข้อควรปฏิบัติตัวของผู้ป่วยในระยะต่าง ๆ โดยพยาบาลจะให้ความรู้และมอบป้ายวงล้อให้ผู้ป่วยและญาติได้อ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตนตามคำแนะนำ
เครื่องมือในการวิจัย ป้ายวงล้อแสดงระยะเวลาของโรคไข้เลือดออก หนังสือแสดงเจตนายินยอมเข้าร่วมการวิจัย เอกสารชี้แจงผู้เข้าร่วมการวิจัย แบบประเมินระดับความพึงพอใจของผู้ป่วย ญาติ ผู้ดูแลผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อป้ายวงล้อแสดงระยะเวลาของโรคไข้เลือดออก
วิธีการศึกษา เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามระดับความพึงพอใจผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแลผู้ป่วยในขณะที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยพิเศษ 1 และพิเศษ 2 ระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 50 รายและเก็บข้อมูลความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยพิเศษ จำนวน 17 ราย (พยาบาลหอผู้ป่วยพิเศษ 1 จำนวน 8 ราย และหอผู้ป่วยพิเศษ 2 จำนวน 9 ราย) ในโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
ผลการศึกษาพบว่า ผลการตอบแบบสอบถามระดับความพึงพอใจต่อป้ายวงล้อของผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแลผู้ป่วย ความพึงพอใจโดยรวม มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดร้อยละ 88 และมากร้อยละ 12 และผลการความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยพิเศษต่อป้ายวงล้อโดยรวม มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดร้อยละ 40 ระดับมากร้อยละ 53.33 และระดับปานกลางร้อยละ 6.67
References
นันทิดา กุณราชา, สุภาพร ตรงสกุล, วรรณรัตน์ ลาวัง และ พิษณุรักษ์ กันทวี. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร, 9(1), 91-103.
นัทธ์หทัย อุบลและศศิธร บรรจงรัตน์. (2563). การศึกษาความพึงพอใจต่อการบริการ กรณีศึกษาสำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ประจำคณะทันตแพทยศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร mahidol R2R e-Journal, 7(1): 59-72.
มัลลิกา โสดวิลัย, ณัฐภัสสร ศรีคงและนภาพร ม่วงสกุล. (2563). คุณภาพการบริการสำนักงานคณบดี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร mahidol R2R e-Journal, 7(1): 29-40.
วนิดา ตันตาปกุลและสุชาดา วิภวกานต์. (2061), การพัฒนาแนวปฎิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออกในโรงพยาบาลกระบี่.วารสารการแพทย์กระบี่, 2(1):29-40.
วารุณี วัชรเสวี และคณะ.(2557) แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยไข้เลือดออก ฉบับ 60 ปี โรงพยาบาลเด็ก. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ,มุกดา หวังรีวงศ์ และวารุณี วัชรเสวี. (2556). แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
World Health Organization. (2015). National Guidelines for Clinical Management of Dengue Fever. India.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Mahidol R2R e-Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.