ความสำคัญของมาตรฐานวิชาชีพด้านไอซีทีต่อการสมัครงานของนิสิต กรณีศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • วราพงษ์ คล่องแคล่ว คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2020.21

คำสำคัญ:

มาตรฐานวิชาชีพด้านไอซีที, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

บทคัดย่อ

          การศึกษาความสำคัญของมาตรฐานวิชาชีพด้านไอซีที ต่อการสมัครงานของนิสิต กรณีศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ผลการศึกษาวิจัยสรุปประเด็นจากผู้ตอบแบบสอบถามดังนี้ ประเด็นความสำคัญของการมีใบมาตรฐานอาชีพด้านไอซีที (Certificate ICT) ต่อการนำไปสมัครงานหลังสำเร็จการศึกษามีความสำคัญเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ มาก (gif.latex?\bar{x}= 3.96), โดยกลุ่มนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ระดับความสำคัญที่นิสิตคิดเห็นถึงความสำคัญของการมีใบมาตรฐานอาชีพด้านไอซีที (Certificate ICT) ต่อการนำไปสมัครงานหลังสำเร็จการศึกษา มีความสำคัญอยู่ในระดับ มาก (gif.latex?\bar{x}= 4.16), ผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มศิษย์เก่าที่จบการศึกษาในระยะ 1 ปี ระดับความสำคัญของการมีใบมาตรฐานอาชีพด้านไอซีที (Certificate ICT) ต่อการสมัครงานหลังสำเร็จการศึกษา มีความสำคัญอยู่ในระดับ มาก (gif.latex?\bar{x}= 3.53), ผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มอาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระดับความสำคัญที่อาจารย์มีความคิดเห็นต่อความสำคัญของการมีใบรับรองมาตรฐานอาชีพด้านไอซีที (Certificate ICT) ต่อการนำไปสมัครงานหลังสำเร็จการศึกษา มีความสำคัญอยู่ในระดับ มาก (gif.latex?\bar{x}= 4.20), ผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มผู้ประกอบการและผู้ที่ทำงานด้านไอที ระดับความสำคัญที่ความสำคัญของการมีใบมาตรฐานอาชีพด้านไอซีที (Certificate ICT) ต่อการนำไปสมัครงานหลังสำเร็จการศึกษา มีความสำคัญในระดับความสำคัญ มาก (gif.latex?\bar{x}= 3.94)

          การจัดระดับการสอบมาตรฐานด้านไอซีทีตามความคิดเห็นของผู้ประกอบการ เพื่อคัดเลือกบุคคลก่อนรับเข้าทำงาน อันดับที่ 1 มาตรฐานด้านไอซีทีด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ระดับความสำคัญ มาก (gif.latex?\bar{x} = 3.77) อันดับที่ 2 มาตรฐานด้านไอซีทีด้านซอฟต์แวร์และการประยุกต์ ระดับความสำคัญ ปานกลาง (gif.latex?\bar{x}= 3.45) อันดับที่ 3 มาตรฐานด้านไอซีทีด้านเครือข่ายและความปลอดภัย ระดับความสำคัญ ปานกลาง (gif.latex?\bar{x}= 3.32) อันดับที่ 4 มาตรฐานด้านไอซีที ด้านฮาร์ดแวร์ ระดับความสำคัญปานกลาง (gif.latex?\bar{x}= 3.32) ดังนั้น คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา จะต้องส่งเสริมให้นิสิตสอบมาตรฐานด้านไอซีที ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นอันดับแรก เพื่อนิสิตนำไปประกอบการสมัครงานหลังจบการศึกษา โดยต้องส่งเสริมการสอบมาตรฐานด้านไอซีที และด้านอื่น ๆ ด้วย เพื่อยกระดับการสมัครงานเพื่อให้ผู้ประกอบการพิจารณารับเข้าทำงาน

References

สิริชัย จันทร์นิ่ม. (2557). การจัดทำมาตรฐานอาชีพสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิตอลคอนเทนต์ สายงานซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่น, การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 7, 6-7 พฤศจิกายน 2557 ณ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มจพ.และสมาคม ครุศาสตร์ อุตสาหกรรมไทย. กรุงเทพๆ.

สรคม ดิสสะมาน. (2551). ความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิตสาขาวิชาสารนิเทศศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารบรรณารักษศาสตร์, 28, 31-48.

ธีรพงษ์ วิริยานนท์. (2549). การพัฒนามาตรฐานอาชีพของผู้ประเมินสมรรถนะวิชาชีพตามระบบคุณวุฒิวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ.

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). มาตรฐานสมรรถนะ มาตรฐานสมรรถนะ สาขาผู้ใช้ไอที(Digital Literacy). สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2562 , http://www.tpqi.go.th/home.php

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย