การวิเคราะห์ต้นทุนวัสดุทันตกรรม Lab ทางทันตกรรมประดิษฐ์ และวัสดุงานรากเทียม ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • พิมลพรรณ ตัวงาม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อรุณรัตน์ ธรรมวะสา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พีรพงษ์ ตัวงาม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2020.19

คำสำคัญ:

ต้นทุน, บริการทางทันตกรรม, งานทางทันตกรรมประดิษฐ์, วัสดุรากฟันเทียม, วัสดุทันตกรรม

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนในการรักษาทางทันตกรรมของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้นทุนเหล่านี้ ได้แก่ กลุ่มรายการวัสดุทันตกรรม ค่าบริการจากห้องปฏิบัติงานทันตกรรมประดิษฐ์ และวัสดุงานรากฟันเทียม ซึ่งมีความสำคัญและเป็นข้อมูลที่ใช้ในการบริหารจัดการงบประมาณเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้

          การศึกษานี้เป็นการใช้ข้อมูลจากระบบ DT-ERP มาทำการวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อหาลักษณะแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโดยวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนค่าใช้จ่ายระหว่างปี 2558–2561 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จัดกลุ่มความสัมพันธ์ในรูปแบบร้อยละ

          ผลการวิจัยพบว่า การรักษาทางทันตกรรมกลุ่มรายการวัสดุทันตกรรม Lab ทางทันตกรรมประดิษฐ์ และวัสดุงานรากเทียม มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี

          จากการสรุปจะพบว่า การรักษาทางทันตกรรม กลุ่มรายการวัสดุทันตกรรม วัสดุจากห้องปฏิบัติงานทันตกรรมประดิษฐ์ และวัสดุงานรากฟันเทียม ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องการเปิดการขยายการให้บริการทางทันตกรรมที่เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงความเชื่อมั่นของผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาทางทันตกรรมภายในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

References

ทิวา ม่วงเหมือน. (2554). การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยบริการทันตกรรมเคลื่อนที่โรงพยาบาลหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์.การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม, ประจำปี 2554, 574–583.

เพ็ญแข ลาภยิ่ง และคณะ. (2537). ต้นทุนการรักษาของหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบางปลาม้า สุพรรณบุรี. วิทยาสารทันตสาธารณสุข, 2(1), 20-27.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). คู่มือธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2562, จาก https://mahidol.ac.th/th/governance/

วิวัฒน์ ธาราสมบัติ. (2558). ต้นทุนต่อหน่วยและอัตราการคืนทุนของบริการทันตกรรมโรงพยาบาลบางกรวย ปีงบประมาณ 2556. วิทยาสารทันตสาธารณสุข, 20(1), 9-18.

สิริรัตน์ บัตรโคตร และคณะ. (2558). แนวทางการจัดการต้นทุนค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคฟันคุดที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของโรงพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. มส. (บศ) 3(1), 62–67.

อรรถพล กาญจนวิลานนท์ และคณะ. (2558). แนวทางการจัดการต้นทุนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่ใช้สิทธิ์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของศูนย์ตะวันฉาย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. มส (บศ) 3(2), 65–73.

อัษฎา ประเดิมดี. (2559). ประสิทธิภาพบริการทันตกรรมโรงพยาบาลลำดวน จังหวัดสุรินทร์ ปีงบประมาณ 2557. วิทยาสารทันต-สาธารณสุข, 21(1), 59-66.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย