ความคาดหวังของผู้ใช้บริการเกี่ยวกับระบบการจองห้องประชุม โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2022.29คำสำคัญ:
ห้องประชุม, ระบบการจอง, การวิจัยเชิงคุณภาพบทคัดย่อ
การจองห้องประชุมในหน่วยงานขนาดใหญ่หรือโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโดยส่วนใหญ่จะต้องโทรศัพท์หรือติดต่อโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการตรวจสอบตารางการใช้ห้องประชุม ซึ่งความคาดหวังของผู้ใช้บริการต้องการที่จะทราบทันทีว่ามีห้องประชุมที่สามารถใช้ได้หรือไม่ หรือในบางกรณีผู้ใช้บริการต้องการตรวจสอบตารางการใช้ห้องประชุมช่วงนอกเวลาทำการ แต่เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเลิกงานไปแล้ว จึงจะต้องรอติดต่อเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในวันถัดไป ทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความไม่คล่องตัวในการประสานงาน และยากต่อการใช้งาน ระบบการจองห้องประชุมควรจะต้องเข้าถึงได้ง่าย ตรวจสอบสถานะของการจองห้องประชุมได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ผู้จัดการประชุมสามารถดำเนินการการประชุมต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเข้าใจความคาดหวังของผู้ใช้บริการต่อระบบการจองห้องประชุม ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ระเบียบวิธีวิจัย Ethnography โดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview) กับกลุ่มตัวอย่าง การสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจะเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลโดยอาศัยการสนทนา ซักถามและโต้ตอบระหว่างผู้รวบรวมข้อมูลหรือผู้สัมภาษณ์ (Interviewer) กับผู้รับการสัมภาษณ์หรือผู้ถูกสัมภาษณ์ (Interviewee) จำนวน 10 รายของผู้ที่มีประสบการณ์จองห้องประชุมโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบประเด็นความคาดหวังที่เกิดขึ้น 2 ด้าน ได้แก่ ด้าน“ห้อง คน ของ” : ห้องดังใจ อุปกรณ์ต้องมี / คน...สำคัญ และด้าน“ระบบจองดังใจ” : ออนไลน์ ใช่เลย / Function ตอบสนอง
ผลการศึกษาพบว่า นอกจากการมีห้องประชุมที่เพียงพอ อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ที่ช่วยสนับสนุนในการจัดประชุม การให้บริการไมตรีจิตของผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านห้องประชุมแล้ว หน่วยงานควรต้องให้ความสำคัญในด้านความสะดวกรวดเร็วในการตรวจสอบห้องประชุมที่จะมีผลต่อการตัดสินใจในการวางแผนการทำงานของผู้ใช้บริการด้วย ดังนั้นในการพัฒนาระบบจองห้องประชุมออนไลน์จึงมีความสำคัญ ข้อมูลที่แสดงในระบบจองห้องประชุมออนไลน์จะต้องมีความถูกต้อง เชื่อถือได้และมีความเป็นปัจจุบัน
References
กรรณิกา ถุนาพรรณ์ และ ชูพงษ์ ทองคำสมุทร. (2555). การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของเสียงภายในห้องประชุมคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธนากร หมื่นหลุบกุง, อรรถพล วิรัตน์, และ สุรศักดิ์ ตาน้อย. (2556). ระบบจองห้องประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, (ม.ป.ป.), 365-370.
นิตยา เปล่งเจริญศิริชัย. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการห้องเรียนและห้องประชุมของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่ง หนึ่ง. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(23), 365-377.
นิมิต ซุ้นสั้น (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสถานที่จัดงานประชุม ในบริบทห้องประชุมโรงแรม : มุมมองผู้จัดงาน. RMUTT Global Business and Economics Review, 13(2), 67-78
สมปรารถนา นามขามและคณะ. (2557). โครงการศึกษาความพึงพอใจของบุคคลภายนอกต่อการใช้ห้องประชุมสถาบันวิจัยประชากรและ สังคม. Mahidol R2R e-Journal, 2(1), 92-117.
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (ม.ป.ป.). MICE City.TCEB. https://www.businesseventsthailand.com/th/mice-destinations/mice-destinations/
สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2561). แนวปฏิบัติทางการวิเคราะห์จริยธรรมการวิจัยในขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพ. ARU Research Journal, 5(1), 79-86.
สุรักษ์ สิมคาน. (2557). ระบบบริหารจัดการห้องประชุมออนไลน์ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัย นครพนม. PULINET Journal, 1(1), 45-48.
ศิริรัตน์ ศรีโพลา. (ม.ป.ป.). การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. การวิจัย. http://202.28.33.1/2010/km/ppt-sirirat.pdf
Novabizz. (ม.ป.ป.) ทฤษฎีความคาดหวัง. Novabizz.com. https://www.novabizz.com/NovaAce/Behavior/Expectancy_Theory.htm
Braun, V. & Clarke, V. (2006). Using Thematic Analysis in Psychology. Qualitative Research in Psychology, 3(2), 77-101. http://dx.doi.org/10.1191/1478088706qp063oa
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Mahidol R2R e-Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.