ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชี ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2023.8คำสำคัญ:
ควบคุมภายใน, การเงินและบัญชี, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อระบบการควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชีของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ตามมาตรฐานการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐและตามมาตรฐานสากลของ The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission : COSO 2013 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งสิ้น 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียวและการวิเคราะห์สหสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยการควบคุมภายในและองค์ประกอบการควบคุมภายใน ในภาพรวมของหน่วยงานอยู่ในระดับดีมาก ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ ตำแหน่งงานและระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อระบบการควบคุมภายในไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านอายุ และอายุงานที่แตกต่างกันมีความเห็นต่อระบบการควบคุมภายในแตกต่างกัน ปัจจัยการควบคุมภายในมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบการควบคุมภายใน ในทุกด้าน
References
กระทรวงการคลัง. (2561). มาตรฐานการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ.
จนัญญา ใหม่นทีกุล. (2561). การพัฒนาระบบควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ [วิทยานิพนธ์บริหารมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
จิณห์ระพีร์ พุ่มสงวน. (2560). ความหมาย วัตถุประสงค์และองค์ประกอบของการควบคุมภายในของ COSO. จาก http://intra9.rama.mahidol.ac.th/risk_mgt/th/km/09mar2016-0912
ชุติมา เลิศลบศิริ. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อระบบควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ธนพัฒน์ ขันกฤษณ์ และ กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธ์. (2560). ผลกระทบของการควบคุมภายในที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการและพนักงานราชการกรมการเงินทหารบก [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ศุภชัย ลีลิตธรรม. (2554). การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบการควบคุมภายในตามแนวทาง COSO มาใช้กับการบริหารการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคใต้) จังหวัดเพชรบุรี [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2544). การควบคุมภายใน: วิถีการป้องกันความเสียหายและลดความสูญเสีย.
สุวินชา การพัดชี และ นพัชกร ทองเรือนดี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพระบบการควบคุมภายในของสถานประกอบการในเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
สุรเจต ไชยพันธ์พงษ์ และ กฤษฎา มณีชัย. (2559). การควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชีของเทศบาลในพื้นที่จังหวัดพะเยา วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Mahidol R2R e-Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.