ความคิดเห็นของอาจารย์แพทย์และแพทย์ประจำบ้านที่มีต่อหุ่นจำลองฝึกทักษะการใส่เฝือกแขนตามทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2022.13คำสำคัญ:
หุ่นจำลองทางการแพทย์, หุ่นจำลองฝึกทักษะการใส่เฝือกแขน, ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์แพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัดที่มีต่อหุ่นจำลองฝึกทักษะการใส่เฝือกแขนตามทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ อาจารย์แพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน ชั้นปีที่ 1-4 ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 74 คน ได้ตอบความคิดเห็น 62 คน คิดเป็นร้อยละ 83.78% เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หุ่นจำลองฝึกทักษะการใส่เฝือกแขน แบบประเมิน และแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน ทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ Mann-Whitney U test
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นแพทย์ประจำบ้าน ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการทำงานประมาณ 1-3 ปี ภาพรวมความคิดเห็นต่อการใช้งานหุ่นจำลองอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด หัวข้อที่มีความเห็นในระดับมากที่สุด ได้แก่ ความสอดคล้องกับแนวคิด ค่านิยมหรือบรรทัดฐานทางสังคม ความยุ่งยากซับซ้อนในการเข้าใจ และการนำไปใช้ สามารถสังเกตเห็นผลที่จะเกิดขึ้นชัดเจน และประโยชน์ต่อผู้นำไปใช้ ในด้านที่สามารถนำไปทดลองใช้ได้จริงอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นพบว่าไม่แตกต่างกันสรุปได้ว่านวัตกรรมหุ่นจำลองฝึกทักษะการใส่เฝือกแขนมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน และสามารถช่วยให้ผู้เรียนฝึกทบทวนซ้ำได้ตามที่ต้องการ
References
จิราภรณ์ นันท์ชัย และ สมชาย แสงนวล. (2561). “การพัฒนาหุ่นจำลองสำหรับฝึกทักษะการประเมินท่าทารกในครรภ์”. พยาบาลสาร. 45(4), 38-46.
นุชนาฏ สุทธิ และ ณัฏฐชา เจียรนิลกุลชัย. (2562). “การออกแบบและพัฒนาแบบจำลองทวารเทียมสำหรับฝึกทักษะหัตถการดูแลทวารเทียม”. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 25(2), 227-241.
บุญเสริม วัฒนกิจ และ กิตติ กรุงไกรเพชร. (2560). “การพัฒนาหุ่นจำลองสำหรับการทำหัตถการเพื่อการเรียนการสอน: หุ่นจำลองสำหรับฝึกผ่าตัดคลอดบุตร”. โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิรเมศร์ โภโค, ดนัย ดุสรักษ์ และ จักรพันธ์ กึนออย. (2562). “การพัฒนาบาดแผลจาลองเพื่อฝึกทักษะการทำแผลของนักศึกษาพยาบาล”. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2(1), 267-279.
Al-Rahmi, W. M., Yahaya, N., Aldraiweesh, A. A., Alamri, M. M., Aljarboa, N. A., Alturki, U., & Aljeraiwi, A. A. (2019). Integrating Technology Acceptance Model with Innovation Diffusion Theory: An Empirical Investigation on Students’Intention to Use E-Learning Systems. IEEE Access, 7, 26797–26809. https://doi.org/10.1109/ACCESS.2019.2 899368
Estriegana, R., Medina-Merodio, J. A., & Barchino, R. (2019). Student acceptance of virtual laboratory and practical work: An extension of the technology acceptance model. Computers and Education, 135, 1–14. https://doi.org/10.1016/j.compedu.2019.02.010
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Mahidol R2R e-Journal
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.