คุณภาพน้ำจากบ่อน้ำพุร้อนในจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2021.24คำสำคัญ:
บ่อน้ำพุร้อน, คุณภาพน้ำ, ภาคใต้ตอนบน, คุ้มครองผู้บริโภคบทคัดย่อ
น้ำพุร้อนเกิดจากน้ำบาดาลร้อนซึมผ่านรอยแตกของชั้นหินขึ้นมาจากใต้ดิน โดยน้ำมีคุณสมบัติเฉพาะตามชั้นหินที่น้ำซึมผ่าน ที่ผ่านมาในปี พ.ศ. 2559 พบคุณภาพน้ำจากบ่อน้ำพุร้อนในจังหวัดระนองมีปริมาณฟลูออไรด์และเชื้อจุลินทรีย์ ไม่ผ่านเกณฑ์ ดังนั้นในปีพ.ศ. 2560 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และทางจุลชีววิทยาของน้ำจากบ่อน้ำพุร้อนในจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานน้ำบาดาลที่ใช้บริโภค จำนวน 30 บ่อ ผลการศึกษา พบว่าน้ำในจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ไม่ผ่านเกณฑ์ทางกายภาพและทางเคมีร้อยละ 100, 100, 91 และ 62 และไม่ผ่านเกณฑ์ทางจุลชีววิทยาร้อยละ 100, 78, 73 และ 100 ของจำนวนบ่อทั้งหมดในแต่ละจังหวัด ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าปริมาณฟลูออไรด์ในจังหวัดระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราชสูงเกินเกณฑ์ร้อยละ 100, 73 และ 62 ของจำนวนบ่อทั้งหมดในแต่ละจังหวัด ตามลำดับ จึงไม่ควรใช้น้ำดื่มกิน ข้อมูลที่ได้เป็นประโยชน์ในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ และบริหารการใช้น้ำจากบ่อน้ำพุร้อนให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของน้ำแต่ละบ่อต่อไป
References
กนกวรรณ เทพเลื่อน และ กฤษณี เรืองสมบัติ. (2559). คุณภาพน้ำจากบ่อน้ำร้อนและบ่อแช่ในจังหวัดระนองปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. ในรายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11สุราษฎร์ธานี. (น. 26). สุราษฎร์ธานี.
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทน้ำพุร้อนธรรมชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
กรมทรัพยากรธรณี. (2550ก). การศึกษาคาบอุบัติในพื้นที่ที่แสดงร่องรอยการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา และภูเก็ต (รอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรมทรัพยากรธรณี. (2550ข). ฟลูออไรด์. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.dmr.go.th/
กรมทรัพยากรธรณี. (2559). การแบ่งประเภทและประโยชน์จากการอาบน้ำพุร้อน. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2564, จาก http://www.dmr.go.th/
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือมาตรฐานน้ำดื่มประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2551). กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการในทาง วิชาการสำหรับการป้องกันด้านสาธารณสุขและการป้องกันในเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ. คุณภาพของน้ำบาดาลที่จะใช้บริโภคได้.กรมทรัพยากรน้ำบาดาล. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2562, จากhttp://lab.dgr.go.th/images/std.pdf
กระทรวงสาธารณสุข. (2543). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 199 เรื่องน้ำแร่ธรรมชาติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2564, จาก http : //food.fda.moph.go.th/
วรรณภา จ่าราช. (2546). คุณลักษณะทางเคมีแหล่งน้ำพุร้อนในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : กองวิเคราะห์และตรวจสอบทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี.
สมาคมเภสัชกรแห่งจังหวัดชุนมะ ศูนย์ตรวจวิเคราะห์ทางด้านสิ่งแวดล้อม ประเทศญี่ปุ่น. (2560). รายงานผลการตรวจน้ำพุร้อนในจังหวัด ระนอง.
สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา และ อังศณา ฤทธิ์อยู่. (2548). แนวทางการจัดการฟลูออไรด์สูงในน้ำบริโภคเพื่อป้องกันผลกระทบด้านทันตสุขภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
Environment Agency, The Microbiology of drinking water. (2010). Methods for the Isolation and Enumeration of Sulfite-Reducing Clostridia and Clostridium perfringens by membrane filtration.
ISO 19250. (2010). Water quality detection of Salmonella spp. Geneva: International Organization Standard.
Rice, E.W.; Baird, R.B.; Eaton, A.D.; Clesceri, L.S. (2012). Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater, 22nded; Washington, DC:American Public Health Association (APHA).