ความรู้ เจตคติและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ของนักศึกษากลุ่มสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2021.28คำสำคัญ:
ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ, ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์, อันตรายในห้องปฏิบัติการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ เจตคติและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ของนักศึกษากลุ่มสุขศาสตร์ เป็นการศึกษาเชิงพรรณากับนักศึกษากลุ่มสุขศาสตร์ (แพทย์ แพทย์แผนไทยประยุกต์ ทันตแพทย์ เภสัช และพยาบาล) โดยใช้แบบสอบถามร่วมกับการสังเกตพฤติกรรม แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและหาความสัมพันธ์โดยสถิติ Pearson Correlation พบว่านักศึกษากลุ่มสุขศาสตร์มีความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอยู่ในระดับดี แต่เป็นที่น่าสังเกตว่านักศึกษายังขาดความรู้เกี่ยวกับข้อมูลและวิธีการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย โดยมีนักศึกษาเพียงร้อยละ 5.78 เท่านั้นที่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีในระดับดี รวมถึงยังพบการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ มีดผ่าตัดบาดมือ หลอดทดลองตกแตก สารเคมีหกและไฟไหม้เสื้อคลุมปฏิบัติการ และจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แยกตามปัจจัย (ภาพรวม เพศ คณะที่ศึกษา) พบว่ามีเพียงความรู้ด้านความปลอดภัยของนักศึกษาในภาพรวม นักศึกษาเพศชายและนักศึกษาพยาบาลเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมด้านความปลอดภัย ส่วนเจตคติในทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ สรุปได้ว่านักศึกษากลุ่มสุขศาสตร์มีความรู้ เจตคติและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์อยู่ในระดับดี ซึ่งความรู้ด้านความปลอดภัยนั้นเป็นตัวกำหนดหรือช่วยให้เกิดเจตคติและยังมีผลต่อการแสดงออกของพฤติกรรมตามมา ดังนั้นหากต้องการให้นักศึกษาเกิดพฤติกรรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เหมาะสม การส่งเสริมให้ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการในบางประการที่ยังขาดอยู่ รวมถึงการออกกฏระเบียบและข้อปฏิบัติเพื่อควบคุมและบังคับให้มีการฝึกปฏิบัติการอย่างถูกต้องและปลอดภัยนั้นจะนำไปสู่การแสดงออกทางพฤติกรรมด้านความปลอดภัยที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
References
กนกอร ไชยคำ, พินสุดา คลังแสง, และบุญเพ็ง พาละเอ็น. (2556). ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมของนักศึกษาแพทย์ด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28(4), 484-89.
กมลวรรณ บุตรประเสริฐ และสรันยา เฮงพระพรหม. (2557). พฤติกรรมการปฏิบัติด้านความปลอดภัยของผู้ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลตำรวจ, 6(2), 83-95.
กาญจนา สุรีย์พิศาล. (2564). การยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเคมี L-210 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ตามมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย.วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 8(1), 49-62.
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย. (2560). สถิติอุบัติภัยวัตถุเคมี. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2564, จาก http://www.chemtrack.org/Stat-Accident-List.asp?SYear=2010&EYear= 2014& AAT=6
ชนกานต์ สกุลแถว.(2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการใช้ห้องปฏิบัติการเคมีของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะสาธารณสุขศาสตร์,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554. (2554, 17 มกราคม) ราชกิจจานุเบกษา.เล่มที่ 128 ตอนที่ 4 ก. หน้า 5-25.
พรเพ็ญ ก๋ำนารายณ์. (2558). ผลการสำรวจชี้บ่งอันตราย และวิเคราะห์ความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(4), 667-81.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.(2558) ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง นโยบายด้านความปลอดภัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2558
สุภาพร เทียมวงศ์. (2550). ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมของนักศึกษาด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
MGR Online. (2561).ห้องทดลองมหาวิทยาลัยจีนระเบิด นักศึกษาดับ 3 ราย. 26 ธันวาคม 2561 สืบค้นเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2564, จาก https://mgronline.com/around/detail/9610000128209
Nam Joon Cho and Yong Gu Ji. (2016). Analysis of Safety Management Condition & Accident Type in Domestic and Foreign Laboratory. Journal of the Ergonomics Society of Korea, 35(2), 97-109.
OECD. (2021). OECD Series on principles of good laboratory practice and compliance monitoring Number 1 (as revised in 1997). Retrieved 24 April 2020, from https://www.oecd.org/officialdocuments/publicdisplaydocumentpdf/?cote=env/mc/chem(98)17&doclanguage=en
OSHA. (2021). Hazard recognition &solutions: safety and health. Retrieved 24 April 2020, from https://www.osha.gov/SLTC/laboratories/hazard_recognition.html.https://www.osha.gov/laboratories