การสำรวจสภาพปัญหาของนิสิตบัณฑิตศึกษานานาชาติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงปิดสถานศึกษาชั่วคราว จากการแพร่ระบาดของการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ COVID-19

ผู้แต่ง

  • ลัชชา ชุณห์วิจิตรา
  • ณัฐณี แต้สกุล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2020.14

คำสำคัญ:

นิสิตบัณฑิตนานาชาติ, ปิดสถานศึกษาชั่วคราว, โรคไวรัสโคโรนา

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยในรูปแบบเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อสำรวจสภาพปัญหาของนิสิตบัณฑิตศึกษานานาชาติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงปิดสถานศึกษาชั่วคราวจากการแพร่ระบาดของการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ประชากรที่ใช้ในการสำรวจครั้งนี้เป็นนิสิตต่างชาติจำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามภาษาอังกฤษในรูปแบบออนไลน์ทาง Google form ประกอบด้วย 2 ส่วน คือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามปัญหาของนิสิตบัณฑิตศึกษานานาชาติในช่วงปิดสถานศึกษาชั่วคราวจากการการแพร่ระบาดของการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 จำนวน 29 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows โดยใช้สถิติสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการเปรียบเทียบข้อมูลใช้สถิติการทดสอบของฟิชเชอร์ (The Fisher exact probability test) ผลการสำรวจพบว่าสภาพปัญหาของนิสิตบัณฑิตศึกษานานาชาติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงปิดสถานศึกษาชั่วคราวจากการแพร่ระบาดของการติดเชื้อโรคโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ที่จำแนกตามระดับการศึกษาและปีที่เข้าศึกษาพบว่ามีสภาพปัญหาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

1. เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง. 2563. บทบรรณาธิการ. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ปีที่ 37(1), ไม่ปรากฎเลขหน้า

2. แพทย์โรคติดเชื้อและระบาดวิทยา. 2563. ตอนที่ 1 โรคโควิด-19 การติดเชื้อ การป่วย การดูแลรักษาการป้องกันการแพร่เชื้อและการติดเชื้อ. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

3. แพรวพรรณ โสมาศรี .2556. การศึกษาการใช้ชีวิตของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

4. นันทิชา บุญละเอียด. 2554. การปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

5. ประคอง กรรณสูต. 2542. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

6. พักต์เพ็ญ สิริคุตต์. (2563). สถานการณ์ของโรค และแนวทางปฏิบัติของโรค 2019 Novel Coronavirus Disease (COVID-19)(Update 1 เม.ย. 2563) สืบค้นเมือวันที่ 2 มิ.ย.2563 : https://drive.google.com/file/d/1MN3agytqJqo2cFr6snAnXG-tmrBqu4YM/view

7. พูนพร ศรีสะอาด. 2534. การศึกษาเปรียบเทียบการสนับสนุนทางสังคม ที่มีผลต่อความวิตกกังวลของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 4 ของวิทยาลัยพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี. เอกสารการวิจัย. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

8. อิทธิพัทธ์ อรุณสุรัตน์และคณะ. 2563. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: เรารู้อะไรบ้าง.วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 6 (1), หน้า 2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย