แสงสว่างสำหรับห้องเรียนในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • วิทยา แหลมทอง

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2020.13

คำสำคัญ:

การสำรวจแสง, ค่าการส่องสว่าง, ห้องเรียนบรรยาย

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้ศึกษาค่าปริมาณแสงสว่างที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการใช้งานในห้องเรียนภายใต้แสงประดิษฐ์  เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบหรือปรับแสงสว่างในห้องเรียน โดยใช้วิธีการสำรวจเก็บข้อมูลจากห้องเรียนต่าง ๆ ภายในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และแบ่งประเภทห้องเรียนในการสำรวจออกเป็น 3 ขนาด ตามความจุของห้อง คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยศึกษาเก็บข้อมูลสำรวจดังนี้ ลักษณะทางกายภาพของห้องเรียน ชนิดของหลอดไฟ ตำแหน่งดวงโคม ลักษณะการใช้งานห้องเรียน และค่าปริมาณแสงสว่างในห้องเรียน แล้วนำผลค่าเฉลี่ยมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานแสงสว่างในปัจจุบัน

         จากผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยปริมาณแสงสว่างภายในห้องเรียนทั้ง 3 ขนาด ที่ได้จากการสำรวจ ค่าเฉลี่ยรวมปริมาณแสงสว่างของแสงประดิษฐ์และแสงธรรมชาติ โดยห้องเรียนขนาดเล็กมีค่าเฉลี่ยรวมปริมาณแสงสว่าง 656.06 Lux ห้องเรียนขนาดกลางมีค่าเฉลี่ยรวมปริมาณแสงสว่าง 739 Lux และห้องเรียนขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ยรวมปริมาณแสงสว่าง 389.66 Lux ซึ่งทุกห้องเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานแสงสว่างของสมาคมแสงสว่างแห่งประเทศไทย (TIEA) โดยมีเกณฑ์ตามมาตรฐานสากลสำหรับห้องเรียนอยู่ที่ 300 Lux แต่ในการใช้งานห้องเรียนจริง อาจมีการใช้เครื่องฉายภาพ ทำให้จำเป็นต้องควบคุมปริมาณแสงสว่างในห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถมองเห็นจอภาพได้อย่างสบายตา สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้เมื่อมีการฉายจอภาพ ดังนั้นการออกแบบแสงสว่างในห้องเรียนควรคำนึงถึงตำแหน่งการวางผังโคมไฟและการออกแบบการเปิด-ปิดโคมไฟ ต้องมีการแบ่งผังไฟในส่วนของบริเวณการสอนออกจากผังไฟรวม เพื่อที่จะทำให้ควบคุมปริมาณแสงสว่างในการเรียนการสอนได้ ความสูงของฝ้าเพดาน หากสูงเกินไปทำให้ต้องออกแบบจำนวนดวงโคมมากขึ้นเพื่อให้ปริมาณแสงสว่างเพียงพอตามมาตรฐาน และในห้องเรียนที่มีพื้นที่จำกัดความสูงของฝ้าเพดาน  ควรคำนึงถึงหลักการออกแบบค่าความส่องสว่างภายในห้องเรียน เพื่อไม่ให้มีค่าการส่องสว่างมากเกินมาตรฐานจนเกินความจำเป็น ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองการใช้พลังงานไฟฟ้าและเป็นภาระในการบำรุงรักษาในอนาคต

References

1. ญาณี อังศุคราญ และชนะ รักษ์ศิริ. (2548). การสำรวจความเพียงพอของแสงสว่างภายในห้องเรียน. การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 28.

2. ธนะชัย หิมะธนะสุวรรณ และยิ่งสวัสดิ์ ไชยะกุล. (2561). การปรับปรุงระบบแสงสว่างสำหรับแบบอาคารเรียน 4/12 ของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น. การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 5 (BTAC 2018).

3. ศิรินภา จันทรโคตร และยิ่งสวัสดิ์ ไชยะกุล. (2559). แสงสว่างสำหรับห้องเรียนในมหาวิทยาลัยขอนแก่น. การประชุมวิชาการ เทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 4 (BTAC 2017). มาตรฐานแสงสว่างของสมาคมแสงสว่างแห่งประเทศไทย (TIEA)

4. CIBSE (2002). Code for Lighting. London, The society of Light and Lighting.

5. CIBSE (2009). Lighting Guide 7 : Office lighting. London, The society of Light and Lighting.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย