ส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7Ps) ที่สนับสนุนการจัดบริการวิชาการแก่สังคมแบบมีรายได้ของหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สังกัดมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • อิทธิพร ขำประเสริฐ
  • สุภัสสรา วิภากูล
  • นันทิดา แคน้อย

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2020.11

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, การให้บริการวิชาการแก่สังคม, การสร้างรายได้

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.วิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีส่วนสนับสนุนการจัดโครงการบริการวิชาการแก่สังคมแบบมีรายได้ของหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2. ศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางการส่งเสริมกลยุทธ์การตลาดการจัดบริการวิชาการแก่สังคมแบบมีรายได้ของหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix-Method) ประชากร คือ ผู้บริหาร และอาจารย์ในสังกัดหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง แบ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในเชิงปริมาณ จำนวน 76 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในเชิงคุณภาพ จำนวน 7 คน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Person) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson ‘ s product  moment correlation  coefficient) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์สรุปเนื้อหา

          ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยระดับมากในการนำส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7Ps) มาสนับสนุนการจัดบริการวิชาการแก่สังคมแบบมีรายได้ และได้นำเสนอกลยุทธ์ที่เน้นความร่วมมือทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร 5 ด้านมาสนับสนุนการดำเนินงาน ได้แก่ การใช้เครือข่ายศิษย์เก่า การเพิ่มความร่วมมือกับองค์กรที่มีการตกลงความร่วมมือ การจัดโครงการที่เน้นสหวิทยาการ การให้บริการที่เป็นเลิศ และการสร้างแบรนด์สุขภาพ สภาพปัญหาที่สำคัญของการจัดบริการวิชาการ คือ การวางแผนสำรวจความต้องการที่ตรงกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นระบบ และพบว่ามีปัญหาอยู่ในระดับเล็กน้อยเกี่ยวกับการประเมินผลประโยชน์/ ผลกระทบของการให้บริการวิชาการ รวมทั้งการบริหารคน สำหรับแนวทางการส่งเสริมกลยุทธ์การตลาด ประกอบด้วย 1) การจัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่ประสานงานจัดการให้บริการวิชาการแก่สังคม 2) การสนับสนุนด้านอุปกรณ์ เทคโนโลยีด้านสุขภาพ 3) การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ให้เป็น “นักขาย”ที่ดี 4) การแบ่งปันรายได้จากการให้บริการสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตร และ 5) การกำหนดภารกิจการให้บริการวิชาการแก่สังคมเป็น “ภาระงาน”ของอาจารย์อย่างชัดเจน

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561. (2561, 17 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนพิเศษ 199 ง. หน้า 19-21.

2. เครือวัลย์ อินทรสุข. (2558). การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการวิชาการของสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

3. จันทิมา องอาจ และคณะ. (2561). การบริหารจัดการการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฎสุราษฎร์ธานี, 5 (1), 273-298.

4. จิตรานุช น้อยสุทธิสกุล. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการให้บริการวิชาการของศูนย์บริการวิชาการแบบจัดหารายได้. นครปฐม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

5. เชาว์ โรจนแสง. (2555). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การสารสนเทศ. ใน เอกสารการสอนการจัดการองค์การสารสนเทศ หน่วยที่ 1- 7 . (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

6. ธันยพร อริยะเศรณี. (2558). ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการดำเนินงานบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. สงขลา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

7. นภัทร เสนพงศ์. (2561). กระบวนการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานบริการวิชาการแก่สังคมของบุคลากรในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 10 (2), 1-21.

8. นิสิต มโนตั้งวรพันธุ์. (2554). การมอบหมายงานสำหรับผู้บริหาร. วารสารนักบริหาร, 13 (3), 61-71.

9. เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ และกรกนก ลัทธนันท์. (2556). บริการวิชาการแก่สังคม : การพัฒนาคุณภาพเพื่อสร้างคุณค่า. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 6 (3), 2-15.

10. พิชณิชา นิปุณะ. (2561). แนวทางการพัฒนางานบริการวิชาการที่ก่อให้เกิดรายได้. [เว็บบล็อก] : สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561, จาก www.erp.mju.ac.th.

11. เพลินพิศ จุฬพันธ์ทอง และคณะ .(2557). การพัฒนากลยุทธ์การบริการวิชาการแก่สังคมของ

12. มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16 (1), 40-53.

13. ภัทรธิดา วัฒนาพรรณกิตติ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือ. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 8 (1), 30-46.

14. มานิตย์ ไชยกิจ. (2557). แนวทางการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน กับการวิจัยและการบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบันอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16 (2), 205-213.

15. รอฮานา ดาคาเฮง และคณะ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริการวิชาการแก่สังคมของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

16. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

17. Kotler, P., & Keller, K. (2016). Marketing Management. (15th global edition) Edinburgh: Pearson Education

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย