ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง เข็มทิ่มตำ หรือของมีคมบาด ในนักศึกษาทันตแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • วรัญญา เขยตุ้ย
  • วลัยพร จันทร์เอี่ยม
  • ศรัณยา ณัฐเศรษฐสกุล
  • อภิสรา ทานัน

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2020.10

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุเข็มทิ่มตำ, ของมีคมบาด, การสัมผัสสารคัดหลั่ง, นักศึกษาทันตแพทย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง เข็มทิ่มตำ หรือของมีคมบาดในนักศึกษาทันตแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาทันตแพทย์ หลักสูตรทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต ระดับชั้นปีที่ 4-6 จำนวน 328 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติพิชเชอร์ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.30 มีอายุเฉลี่ย 24.42 ปี เป็นนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ร้อยละ 34.10 เคยได้รับอุบัติเหตุสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง เข็มทิ่มตำหรือของมีคมบาด ร้อยละ 28.40 สถานที่เกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่คลินิกกลาง ร้อยละ 55.40 การทำหัตถการทางทันตกรรมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ มือไปโดนหัวกรอที่มีความแหลมคม ร้อยละ 36.97 หัตถการขูดหินปูนขัดฟัน ร้อยละ 21.53 หัตถการรักษาคลองรากฟัน ร้อยละ 13.95 และชนิดของเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ หัวกรอ (Bur) ร้อยละ 36.79 เครื่องมือขูดหินปูน ร้อยละ  21.53 และเข็ม Irrigation syringe ร้อยละ 13.95 ลักษณะการใช้งานของเข็มหรือของมีคมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดในขณะทำหัตถการผู้ป่วย ร้อยละ 50.00 โดยเข็มหรือของมีคมชนิดนั้นเปื้อนเลือดผู้ป่วย ร้อยละ 32.14 นักศึกษาทันตแพทย์ทราบขั้นตอนการปฏิบัติหลังเกิดอุบัติเหตุ ร้อยละ 79.10 และไม่แจ้งตามขั้นตอนการปฏิบัติภายหลังจากเกิดอุบัติเหตุ ร้อยละ 56.00 นักศึกษาทันตแพทย์เคยได้รับความรู้หรือการอบรมในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการได้รับอุบัติเหตุ ร้อยละ 73.80 จากการจัดอบรมของหน่วยงานสังกัดคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ร้อยละ 31.10 ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ 1) ด้านบุคลากรอยู่ในสถานการณ์ที่เร่งรีบในการทำหัตถการที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุและขาดความระมัดระวังในการปฏิบัติงานทางทันต กรรม 2) ด้านอุปกรณ์ในการทิ้งเข็มและของมีคม และ 3) ด้านแสงสว่างในการปฏิบัติงานซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง เข็มทิ่มตำหรือของมีคมบาดในนักศึกษาทันตแพทย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

1. คลินิกกลาง โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562) https://dt.mahidol.ac.th/th/โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล/คลินิกกลาง/การให้บริการ (สืบค้นข้อมูลเมื่อ 22 สิงหาคม 2562).

2. จินตนา ตาปิน. (2552). ผลการสร้างแรงจูงใจในการป้องกันการรับรู้ ความคาดหวัง และการปฏิบัติการป้องกันอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำ หรือของมีคมบาด ของบุคลากรพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

3. ชลธิชา รอดเพ็ชรภัย. (2552). การจัดการความเสี่ยงต่อการถูกเข็มตำ หรือของมีคมบาดในบุคลากรพยาบาลงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

4. น้องนุช ภูมิสนธ์. 2556. เอกสารบรรยายระบบบริหารความเสี่ยงโรงพยาบาลคุณภาพ. 28 กุมภาพันธ์ 2561. 21-26. http://www.dt.mahidol.ac.th/division/th_Risk_Management_Office/images/data/km/2.pdf. (สืบค้นข้อมูลเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2561).

5. หน่วยควบคุมการติดเชื้อ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ระเบียบปฏิบัติ Standard Precaution ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2559. 1-5. http://www.dt.mahidol.ac.th/dental_hospital/th_infection_control_unit/Images/data/6-IC-SP-005-01.pdf. (สืบค้นข้อมูลเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2561).

6. หน่วยบริหารความเสี่ยง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สถิติการเกิดอุบัติเหตุสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง และถูกของมีคมทิ่มตำ หรือบาด ประจำปีงบประมาณ 2557-2559. 1-6.

7. พร บุญมี และคณะ. 2556. อุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุเข็มทิ่มตำ ของมีคมบาด และการสัมผัสสารคัดหลั่งในนักศึกษา พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลราชชนนีพะเยา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา ปีที่6 ฉบับที่ 2, 124-136

8. สมหวัง ด่านชัยวิจิตร และเทพนิมิตร จุแดง. 2540. การป้องกันการถูกของแหลมคมตำหรือบาดในบุคลากรทางการแพทย์. จุลสารควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย. 7(1), 44-48.

9. อะเคื้อ อุณหเลขกะ. 2555. หลักและแนวปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 2) เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

10. Honda, M., Chompikul, J., Rattanapan, C., Wood, G., and Klungboonkrong, S. (2011). Sharps Injuries among Nurses in a Thai Regional Hospital: Prevalence and Risk Factors. The International Journal of Occupational and Environmental Medicine, 4 (2), page 215 – 223.

11. Kebede, G., Molla, M., and Sharma, H.R. (2012). Needle stick and sharps injuries among health care workers in Gondar city, Ethiopia. Safety Science, 50, page 1093 – 1097.

12. Martins, A., et Al. (2012). Age and years in practice as factors associated with needle stick and sharps injuries among health care workers in a Portuguese hospital. Accident Analysis and Prevention, 47, 11-15.

13. Patrician, P.A., et Al. (2011). Needle stick injuries among nursing staff: Association with shift-level staffing. American Journal of Infection Control, 39(6), 477-482.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย