การศึกษาความพึงพอใจต่อการบริการ กรณีศึกษาสำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ประจำคณะทันตแพทยศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • นัทธ์หทัย อุบล
  • ศศิธร บรรจงรัตน์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2020.6

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, การบริการ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการ กรณีศึกษาสำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ประจำคณะทันตแพทยศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยทำการสำรวจความพึงพอใจของผู้เสนอขอรับการพิจารณารับรองจริยธรรมการวิจัยในคน ในปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557 – กันยายน 2558) โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 68 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการให้บริการแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

          ผลการศึกษาพบว่า ผู้เสนอขอรับการพิจารณารับรองจริยธรรมการวิจัยในคน มีระดับความพึงพอใจในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 โดยในด้านการบริการมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.86 ด้านความสามารถในงานมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.82 ด้านขั้นตอนการให้บริการมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการในด้านขั้นตอนการให้บริการ ด้านการบริการ และด้านความสามารถในงาน ระหว่างเพศและสถานภาพไม่แตกต่างกัน (p>0.05)

References

1. จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

2. ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2549). การตลาดบริการ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

3. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554). ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2561, http://www.royin.go.th/dictionary/.

4. รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

5. รุจิรา ริคารมย์. (2562). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการหน่วยจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. Vol. 11 (2) หน้า 166-188.

6. ศิรินทรา รอมลี. (2554). ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มรับบริการใรคลินิกนอกเวลา ณ ห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทราปราการ. ภาคนิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

7. สมิต สัชฌุกร (2550). การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สายธาร.

8. สุกัญญา พิมพาเรือ (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การพยาบาลวิชาชีพ สังกัดสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.

9. สุทธิศรี ม่วงสวย. (2550). การศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการงานทะเบียน สำนักบริการทางวิชากรและทดสอบ ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การวัดผลการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

10. สอ เสถบุตร. (ม.ป.ป.) พจนานุกรมอังกฤษไทย. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2561, จากhttp://sec.satit.kku.ac.th/lib/?p=238.

11. อารี ลือกลาง. (2555). ระดับความพึงพอใจและความคาดหวังในการให้บริการของบุคลากรกองประปา องค์การบริการส่วนตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา. โครงงานวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยรสุรนารี.

12. อนุสรา ต๊ะพรหม และคณะ. (2559). กระบวนการและผลลัพธ์การดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. Nursing Journal Volume 43 July-September 2016: หน้า 81-89.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย