ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการกายภาพบำบัดในหน่วยกายภาพบำบัดและธาราบำบัด ศูนย์บริการสุขภาพ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ภูวรินทร์ นามแดง
  • สมฤดี หาญมานพ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2020.5

คำสำคัญ:

ปัจจัย, กายภาพบำบัด, บริการ

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการกายภาพบำบัด 2. ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้บริการกายภาพบำบัด ในหน่วยกายภาพบำบัดและธาราบำบัด ศูนย์บริการสุขภาพคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้เป็นผู้รับบริการ จำนวน 205 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการอธิบายปัจจัยด้านข้อมูลทั่วไป และปัจจัยทางการตลาด และใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) ในการหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการกายภาพบำบัด (gif.latex?\alpha =0.05)

         พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ระดับความสำคัญต่อปัจจัยที่มีผลต่อการมารับบริการทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านบริการกายภาพบำบัด ด้านราคา ด้านสถานที่หรือช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ในระดับมากที่สุด โดยมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.64, 4.48, 4.34, 4.28, 4.73, 4.46 และ 4.54 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการกายภาพบำบัด พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการมารับบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยด้านราคา บริการกายภาพบำบัด การสร้างและการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ สถานที่หรือช่องทางการจัดจำหน่าย กระบวนการให้บริการ และการส่งเสริมการตลาด ดังนั้น ในการพัฒนาการบริการกายภาพบำบัดของหน่วยกายภาพบำบัดและธาราบำบัดควรพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวโดยเฉพาะ 3 ปัจจัยแรกที่ผู้รับบริการให้ความสำคัญ หน่วยงานควรกำหนดราคาค่าบริการที่เหมาะสม จัดการคุณภาพบริการกายภาพบำบัด และมีการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจสูงสุด

References

1. จริยา เรือนแก้ว. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการจากธนาคารพาณิชย์ ของนักศึกษาสายสังคมศาสตร์ระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

2. จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2547). เอกสารการสอนชุดจิตวิทยาการบริการ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

3. ณิชยา สืบสุข, วรนารถ แสงมณี และณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการคลินิกกายภาพบำบัดของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 2,659 – 665.

4. ธนวัฒน์ นันทสมบูรณ์. (2542). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนต่อการใช้บริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

5. ไพศาล พินทิสืบ, ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์ และวรางคณา จันทร์คง. (2555).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการสุขภาพของผู้ประกันตนที่ใช้สิทธิประกันสังคมในสถานพยาบาลจังหวัดลำปาง. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2.

6. ภัคจิรา ปิติผล และอิทธิกร ขำเดช. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการคลินิกกันยากายภาพบำบัดของประชากรในเขตกรุงเทพ-มหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาดตลาด และการบริหารธุรกิจ, 3,413 –430.

7. วัชรากร กุชโร (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาล ในจังหวัดร้อยเอ็ด. (การศึกษาปัญหาพิเศษ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

8. ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร.ธีระฟิลม์และไซเทกซ์.

9. เสรี วงษ์มณฑา. (2546). หลักการโฆษณา. กรุงเทพฯ. บริษัทธรรมสารจำกัด.

10. Kolter, P.(2000). Marketing Management. Newjersy. PrenticHall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย