การพัฒนางานการดูแลสุขภาพที่บ้านสำหรับคนพิการ โดยการมีส่วนร่วมของทีมสุขภาพอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปึกสำโรง อ.วังม่วง จ.สระบุรี พ.ศ. 2558-2561

ผู้แต่ง

  • พรพิมล เพ็ชรบุรี
  • ปรีชา ศิริวิโรจนกุล
  • บรรจง วาที
  • กิตติพงศ์ มหิพันธุ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2020.4

คำสำคัญ:

คนพิการ, ทีมสุขภาพอำเภอ, การดูแลสุขภาพที่บ้าน

บทคัดย่อ

         การวิจัย R2R ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนางานการดูแลสุขภาพที่บ้านสำหรับคนพิการ โดยการมีส่วนร่วมของทีมสุขภาพอำเภอในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปึกสำโรง อ.วังม่วง จ.สระบุรี พ.ศ.2558-2561

         กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นคนพิการที่อาศัยอยู่ในชุมชน และทีมสุขภาพอำเภอ รวมทั้งสิ้น จำนวน 26 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ระยะเวลาที่ศึกษา ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2561 กระบวนการศึกษาประกอบด้วย การวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนแก้ไขปัญหา การปฏิบัติการ และการติดตามประเมินผล เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา

         ภายหลังการพัฒนาแนวทางการดำเนินงาน โดยการมีส่วนร่วมของทีมสุขภาพอำเภอ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในการด้านผลลัพธ์ต่อคนพิการกลุ่มตัวอย่าง คือ ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองต่อความต้องการของคนพิการและครอบครัว มีการปรับปรุงบ้านและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำรงชีวิต จัดบริการเพื่อให้คนพิการเข้าถึงบริการของรัฐ เช่น เทศบาลจัดรถรับ-ส่งคนพิการ เพื่อไปรับบริการกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาล เกิดการจ้างงานคนพิการที่สามารถทำงานได้โดยความร่วมมือจากบริษัทเอกชน ซึ่งส่งผลให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผลลัพธ์ต่อผู้ให้บริการ หรือทีมสุขภาพอำเภอ คือมีความรู้สึกพึงพอใจในกระบวนการกิจกรรมการดูแลคนพิการ รวมทั้งช่วยลดต้นทุนด้านค่าใช้จ่าย ด้านจำนวนของทีมเจ้าหน้าที่ได้ด้วย

         แนวทางการดูแลคนพิการในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของทีมสุขภาพอำเภอ ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปึกสำโรง สามารถช่วยพัฒนาด้านผลลัพธ์ที่มีต่อคนพิการได้ จึงควรมีการนำไปปรับใช้ตามบริบทของแต่ละชุมชนต่อไป อีกทั้งควรมีการคืนข้อมูลให้ชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

References

1. กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2562). รายงานสถานการณ์ข้อมูลด้านคนพิการใน ประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2563, จาก http://dep.go.th/Content/View/5805/1

2. นริสา วงษ์พนารักษ์, และศิรินาถ ตงศิริ, (2556). การใช้แนวคิดการฟื้นฟูสุขภาพคนพิการโดยชุมชนในการการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(3), 6-10.

3. เนาวรัตน์ เจียรวิวัฒนวงศ์, ดาราวรรณ รองเมือง, นัสรียา สือมะ, แววตา ขอจ่วนเตี๋ย, โกมาซุม ภูผา,นิศารัตน์ สวนสัน, และคณะ. (2561). การเรียนรู้เชิงบูรณาการระบบสุขภาพระดับอำเภอ และทีมหมอครอบครัว ในการพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพ ด้วยกิจกรรมการเยี่ยมบ้านคุณภาพ: สุขสำราญ ห่วงใยกัน ด้วยทีมหมอครอบครัว. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ (The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health), 3(2), 1-16.

4. ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร, มานพ คณะโต, และ กิตติมา โมะเมน. (2556). การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(3), 18-28.

5. ปรียานุช ชัยก้องเกียรติ, มาริสา หะสาเมาะ, ชนิกานต์ สมจารี, พวงผกา ดำรงเสรี, วรัญญา รัชกุล, และ กันต์สิรินทร์ หมื่นรักษ์. (2561). รูปแบบการดูแลที่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 8(3), 27-40.

6. รังสิยา นารินทร์, และเรณู มีปาน. (2558). นวัตกรรมการจัดการดูแลสุขภาพของชุมชน: อาสาปันสุข. พยาบาลสาร, 42(4), 4-11.

7. รุ้งเพชร สุมิตนันท์. (มปป.). การขับเคลื่อนแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติฉบับที่ 4 พ.ศ.2555-2561 สู่การปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วม. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2562, จาก http://www.tpso10.org/index.php?option=com_content&view=article&id=132&Itemid=195.

8. รัชนี สรรเสริญ, เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ, และวรรณรัตน์ ลาวัง. (2558). การพัฒนาระบบการดูแลคนพิการโดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน.วารสารการพยาบาลและการศึกษา (Journal of Nursing and Education), 6(3), 25-41.

9. สมจิต พรมจันทร์, สุวัฒน์ วิริยะพงษ์สุกิจ, วีรศักดิ์ เบ็ญอะหลี, จินตนา ด้วงปาน, หร่อกีบ๊ะ บุญโส๊ะและนุชรินทร์ คงสินทร์ . (2557). การพัฒนาระบบการดูแลคนพิการอย่างเป็นหุ้นส่วนทางด้านสุขภาพ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ (The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health), 2(1), 37-51.

10. สมชาติ โตรักษา. (2559). R2R: การพัฒนางานตามภารกิจหลักสู่งานวิจัย. Rajabhat J. Sci. Humamit.Soc. Sci, 16(2), 142-155

11. สุริยัน นันทา, ชัยวัฒน์ บัวเนี่ยว, และกฤษณ์ ขุนลึก. (2561). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพคนพิการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลโพนสา อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 97-110.

12. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, ปริทรรศ ศิลปกิจ และวนิดา พุ่มไพศาลชัย. (2541). คุณภาพชีวิตของไทยในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ. ทุนสนับสนุนจากกรมสุขภาพจิต. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.

13. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. (2556). การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน. กรุงเทพฯ: ชุมชุนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

14. เอกรัฐ จันทร์วันเพ็ญ. (2552). บทเรียนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการประจำ (เขตชนบท) เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2562, จาก https://www.gotoknow.org/posts/286437

15. Lee, G., Pickstone, N., Facultad, J., & Titchener, K. (2017). The future of community nursing: Hospital in the Home. British Journal of Community Nursing, 22(4), 174-180.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย