ศึกษาความพึงพอใจการใช้ระบบการจองห้องประชุม ผ่านระบบเครือข่ายอินทราเนต กรณีศึกษา สำนักงานวิจัย วิชาการและนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2014.1คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, จองห้องประชุม, ระบบเครือข่ายอินทราเนตบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการศึกษาความพึงพอใจการใช้ระบบการจองห้องประชุมผ่านระบบเครือข่ายอินทราเนต กรณีศึกษา สำนักงานวิจัย วิชาการและนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นบุคลากรที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการจองห้อง เพื่อใช้ห้องประชุมของสำนักงานวิจัย วิชาการและนวัตกรรม มาจาก 8 หน่วยงาน จำนวน 14 คน
ผลการศึกษาพบว่า ระดับความพึงพอใจในการใช้ระบบการจองห้องประชุมของสำนักงานวิจัย วิชาการและนวัตกรรม ผ่านระบบเครือข่ายอินทราเนต มีความพึงพอใจต่อการใช้งานโดยรวม อยู่ในระดับมาก และมีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างอีกครั้ง หลังจากมีการใช้งานระบบการจองห้องประชุมมาแล้วเป็นระยะเวลา 2 เดือน พบว่าการจองห้องประชุมโดยผ่านระบบการจองห้องประชุม ดีกว่าระบบเดิมที่ใช้จองแบบบันทึกลงกระดาษอย่างมาก เพราะได้รับความสะดวกในการจองห้องประชุม หมดปัญหาเรื่องห้องประชุมมีการใช้งานตรงกัน เจ้าหน้าที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกคน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
References
2. ปิติ โง้วธนสุวรรณ, กานดา รุณนะพงศา สายแก้ว, กรชวัล ชายผา, สราภัส คนล้ำ และ อนัตต์ เจ่าสกุล. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์).ระบบบริหารจัดการจองห้องออนไลน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2557,จาก โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้นไทย http://tar.thailis.or.th/bitstream/123456789/589/1/Paper%20ID_94.pdf
3. พรรณยงค์ เป้าพุคา.(2555).ระบบจองห้องประชุมออนไลน์ ผ่านระบบเครือข่ายอินทราเน็ต กรณีศึกษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ*แขนงวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
4. ปภณวิชษ์ พานุรัตน์ และบุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร,วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. (2556,มกราคม - เมษายน). ปัจจัยจูงใจของความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชน.33(1) : 33.