ศึกษาความพึงพอใจของบัณฑิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • อุทุมพร ไวฉลาด
  • วันทนีย์ โพธิ์กลาง

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2014.8

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, บัณฑิต, การจัดการเรียนการสอน

บทคัดย่อ

         บทความนี้เป็นการศึกษาระดับความพึงพอใจและเปรียบเทียบความพึงพอใจของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร 6 ด้าน คือ ด้านเนื้อหาวิชาของหลักสูตร ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านการจัดทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อม  ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ด้านการให้บริการ การอำนวยความสะดวก และด้านการนำความรู้ไปใช้กับการทำงาน โดยจำแนกตามข้อมูลปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2556 จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวน  ผลการศึกษาพบว่าบัณฑิตมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านอาจารย์ผู้สอน รองลงมา คือ ด้านการนำความรู้ไปใช้กับการทำงาน  ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ด้านการให้บริการ  การอำนวยความสะดวก ด้านเนื้อหาวิชาของหลักสูตร และด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อม ตามลำดับ  การวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยจำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล  คือ เพศ แขนงวิชา การสอบเข้าศึกษา และเกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร นั้น  พบว่า บัณฑิตเพศชายมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอน ด้านการให้บริการ การอำนวยความสะดวกมากกว่าบัณฑิตเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ส่วนอีก 5 ด้าน มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน  เมื่อเปรียบเทียบด้วยตัวแปรด้านแขนงวิชา การเลือกสอบเข้าศึกษา และเกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรนั้น  บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน ทั้ง 6 ด้าน ที่ไม่แตกต่างกัน

References

1. คณะกรรมการการอุดมศึกษา,สำนักงาน. (2556). แผนพัฒนาการอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

2. คณะกรรมการการอุดมศึกษา,สำนักงาน. (2554). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

3. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.(2556). รายงานประจำปี 2555. นครปฐม. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์.

4. นูรียะห์ ตาเยะ. (2556) . ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

5. กวิยา เนาวประทีป. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจของนักศึกษาโครงการปริญญาโททางการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. การศึกษาด้วยตนเอง บัญชีมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

6. อุกกฤษฎ์ ทรงชัยสงวน. (2543). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการโครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง ขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

7. บุณยาพร ฉิมพลอย และเพชรธิดา บุญหนุน (2548). ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อการจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปีการศึกษา 2548. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2557, จาก http://ireo.bu.ac.th/1html_53.html

8. พฤฒิพงษ์ สมรรถพันธุ์ (2551). ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นหมวดวิชาช่างอุตสาหกรรมที่มีต่อการบริหารจัดการในโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (ดินแดง 1). ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

9. เกสสุนี ทวีแก้ว (2552). ศึกษาความพึงพอใจของบัณฑิตที่มีต่อหลักสูตรปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกรุงเทพ. สถาบันการพลศึกษา.

10. บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

11. วัฒนา สุนทรธัย. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์). นักวิจัยมือใหม่กับระเบียบวิธีการทางสถิติ. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2557, จาก : http://tulip.bu.ac.th/~wathna.s/newresearcher.pdf

12. วรรณวิมล จงจรวยสกุล. (2551). ความพึงพอใจในการบริการของงานทะเบียนและวัดผล. วิทยาลัยราชพฤกษ์.

13. ยุคลธร แจ่มฤทธิ์. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ทัศนคติต่อวิชาชีพ รูปแบบการใช้ชีวิตของนักศึกษาการดูแลนักศึกษาของอาจารย์ และบรรยากาศการเรียนรู้ กับการใฝ่รู้ของนักศึกษา พยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

14. กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2555). ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อมหาวิทยาลัยสารคาม ปีการศึกษา 2555. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

15. พนิตศรี ศรีเชื้อ. (2550). ความพึงพอใจและสภาพที่ต้องการของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. คณะครุศาสตร์.

16. รัตนา พรมภาพ. (2551). ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรของภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2550. มหาวิทยาลัยนเรศวร. คณะศึกษาศาสตร์.

17. สาลินี จงใจสุรธรรม. (2553). ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ปีที่ 29,2:25-33.

18. ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ. โรงพิมพ์อลีนเพรส.

19. ชัยนันท์ธรณ์ ขาวงาม. (2555). ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง. มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

20. ศึกษาธิการ,กระทรวง (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

21. สุจิตตา เรืองรัศมี และสมนึก วงศ์ทอง. (2545). ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอนและการบริหารการศึกษากิจกรรมนิสิต และสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเกษตร.

22. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. สำนักสารนิเทศและประชาสัมพันธ์. (2555). ความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการบริการของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

23. รัชวรรณ หงษ์ยิ้ม. (2555). ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการให้บริการของคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์.

24. ชมนาด ม่วงแก้ว. (2555). ศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ งานกิจกรรมนักศึกษาและงานทะเบียนนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี.

25. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2548). ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย.

26. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. (2555). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนและการบริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนการสอน ประจำปีการศึกษา 2555. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.

27. ลำเพา สุภะ และมนัส ไพฑูรย์เจริญลาภ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง. ปีที่ 22,2:38-50.

28. ยอดขวัญ กุลเกตุ. (2551). ปัจจัยด้านการบริหารจัดการคณะวิชาบริหารธุรกิจที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย