การศึกษาทัศนคติของนักศึกษาเกี่ยวกับการแต่งเครื่องแบบนักศึกษา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2014.7คำสำคัญ:
เครื่องแบบนักศึกษาบทคัดย่อ
การแต่งกายเครื่องแบบนักศึกษาหญิงและชายในมหาวิทยาลัย ตามระเบียบของมหาวิทยาลัยที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละมหาวิทยาลัย เป็นการสร้างวินัยและความรับผิดชอบให้กับนักศึกษา สร้างความรู้สึกที่ดี มีความภาคภูมิใจในมหาวิทยาลัย แต่เนื่องจากปัจจุบันการแต่งกายเครื่องแบบของนักศึกษาส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงตามกระแสนิยมในเรื่องการแต่งกายที่ไม่เหมาะสมล่อแหลม เช่น ใส่เสื้อรัดรูป นุ่งกระโปรงสั้น
นุ่งกางเกงยีนส์ ปล่อยชายเสื้อออกนอกกระโปรง/กางเกง และสวมรองเท้าแตะ การแต่งกายที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้จึงกลายเป็นสิ่งที่สังคมวิตกกังวล
การสำรวจทัศนคติของนักศึกษาเกี่ยวกับการแต่งเครื่องแบบนักศึกษา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งนี้เพื่อศึกษาทัศนคติ ปัจจัย และพฤติกรรมของนักศึกษาเกี่ยวกับการแต่งกายเครื่องแบบนักศึกษา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ ชั้นปีที่ 1-4 โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 462 คน ในการวิเคราะห์ผลของงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้เลือกทำการทดสอบ t-test และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One way Analysis of Variance) เพื่อศึกษาทัศนคติของนักศึกษา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ และทัศนคติในการแต่งกายของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ
จากผลการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าอาจารย์เป็นปัจจัยแรกที่มีส่วนทำให้นักศึกษาแต่งกายถูกระเบียบมากที่สุด รองลงมาคือด้านครอบครัว ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านกลุ่มเพื่อน และด้านตัวนักศึกษา ตามลำดับ ในส่วนความคิดเห็นในการแต่งกายของนักศึกษากับปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษา พบว่าด้าน อายุ, ชั้นปี, หลักสูตร และสถานที่พักอาศัย ที่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติด้านการแต่งกายของนักศึกษาที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านเพศ, ค่าใช้จ่าย และผลการเรียน ที่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติด้านการแต่งกายของนักศึกษาที่ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
ขนิษฐา โซ๊ะประสิทธิ์และคณะ. (2550) ความคิดเห็นต่อการแต่งเครื่องแบบนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. งานวิจัยของรายวิชาทางวิธีวิจัยทางธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการทั่วไปธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
ดำรงศักดิ์ ชัยสนิทและคณะ. (2543). หลักและวิธีการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพ ฯ : วังอักษร.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2541). การบริการการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : วิสุทธวัฒนา.
Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology, 140, 1–55.
Yamane, Taro. (1970). Statistics: An Introductory Analysis. (2rd ed). ToKyo: John Weatherhill.