กระบวนการเสริมสร้างจิตสำนึกของบุคลากรและนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

ผู้แต่ง

  • ชาตรี ลุนดำ
  • กุลธิดา โพธิ์แดง
  • พรรษชล สมิติวัณฑิกุล
  • ธนพัฒน์ นพโสภณ
  • ศิริอร มโนมัธยา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2014.6

คำสำคัญ:

จิตสำนึกอนุรักษ์พลังงาน, จิตสำนึกอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research) เพื่อสะท้อนกระบวนการดำเนินนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม รวมถึงกระบวนการถอดบทเรียนให้เห็นสภาวะปัจจุบันของทัศนคติจิตสำนึกที่เปลี่ยนไปในการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักศึกษาและบุคลากรของคณะเทคนิคการแพทย์ เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างแนวทางการเป็นต้นแบบแห่งการอนุรักษ์พลังงานและธรรมชาติ ให้เกิดจากการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล  นอกจากนี้ ยังเป็นการสนับสนุนพันธกิจของคณะฯ ตามเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ด้านที่ 5 :  มุ่งสู่การเป็นสถาบันการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ด้านที่ 7 Harmony ความกลมกลืนในความหลากหลาย ในการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์  คือ  1) เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของคณะเทคนิคการแพทย์  2) เพื่อศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับกระบวนเสริมสร้างการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของบุคลากรและนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ โดยแบ่งวิธีการศึกษาออกเป็น  2 ส่วน คือ 1) ศึกษาวิเคราะห์กระบวนการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของคณะเทคนิคการแพทย์  โดยเก็บรวบรวมข้อมูลหน่วยการใช้พลังงาน ได้แก่ ไฟฟ้า น้ำประปา น้ำมัน และกระดาษ รวมถึงการจัดการขยะ และนำข้อมูลการจัดการไปใช้ในการเปรียบเทียบให้เห็นปริมาณการใช้พลังงานในแต่ละปีงบประมาณ (พ.ศ. 2554-2555)  2) ศึกษาในเชิงคุณภาพ โดยสุ่มสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเพื่อการสะท้อนกลับข้อมูลโดยมีเกณฑ์การคัดเลือกคือ  1)คัดเลือกจากตัวแทนอ้างอิงของนักศึกษาและบุคลากรที่ครอบคลุมและเชื่อถือได้ 2) คัดเลือกจากตัวแทนทีที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการด้านนโยบายและผลักดันการปฏิบัติการ

         ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของคณะเทคนิคการแพทย์ ได้ถูกนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยมีกลไกหลักที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ 1) มีผู้บริหารมุ่งมั่นในการสื่อสารและสนับสนุนตระหนักต่อการอนุรักษ์พลังงานและมุ่งสู่การเป็นต้นแบบของสถาบันการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา  2) การเกิดเครือข่ายทีมทำงานชุมชนนักปฏิบัติ  (CoPs) และสามารถรองรับภาระงาน กล่าวคือ เป็นผู้ดำเนินกิจกรรม โครงการเพื่อสร้างความตระหนักให้เกิดบรรยากาศและทัศนคติและจิตสำนึกที่มีต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ดำเนินการในรูปแบบของการจัดการความรู้ภายในทีมทำงาน อีกทั้งขยายผลความสำเร็จของการดำเนินงานสู่สังคม ชุมชนใกล้เคียง เช่น เครือข่ายโรงเรียนในชุมชนตำบลคลองโยง และชุมชนตำบลบางแก้วฟ้า จังหวัดนครปฐม นอกจากนี้ การจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาของคณะเทคนิคการแพทย์ ชั้นปีที่ 1 ในรายวิชา Transformative Learning เช่น กิจกรรมสมุดทำมือ เป็นต้น รวมถึงในกลุ่มบุคลากรอีกด้วย ในด้านผลลัพธ์ของอัตราการลดลงของปริมาณพลังงาน ไฟฟ้า น้ำประปา ของคณะฯ มีอัตราที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยร้อยละ 3 ต่อปี ติดต่อกัน 3 ปี ซึ่งมีแนวโน้มดีขึ้น และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปสื่อสารให้เกิดการรับรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เกิดความร่วมมือของนักศึกษาและบุคลากรเพิ่มมากขึ้น

References

1.ประพนธ์ ผาสุกยืด.การจัดการความรู้ ฉบับ KM Inside สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.กรุงเทพฯ: พิมพ์ที่ บริษัท เอมี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด; 2553.

2. วิจารณ์ พานิช.การจัดการความรู้ : ฉบับนักปฏิบัติ.สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.); 2548.

3. แผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. พ.ศ.2556 - 2559.

4. แผนพัฒนายุทธศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ประจำปี พ.ศ.2551 - 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย