การรวบรวมซากนกป่าเพื่อเป็นสื่อการสอนในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2014.4คำสำคัญ:
ซากนกป่า, สื่อการสอน, การอนุรักษ์นก, วิทยาเขตกาญจนบุรีบทคัดย่อ
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ซึ่งมีสภาพเป็นป่าธรรมชาติทำให้มีโอกาสได้พบสัตว์ป่าโดยเฉพาะนกซึ่งเป็นสัตว์ป่าที่พบได้ง่าย และยังพบนกบินชนกระจกหรือหลงติดในตัวอาคารทำให้บาดเจ็บและตายเป็นจำนวนมาก จึงได้ทดลองนำซากมาเป็นสื่อการสอนตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2552 แทนตัวอย่างที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพงมากเกินไป จากการสำรวจและรวบรวมซากนกพร้อมจัดทำบัญชีเพื่อขออนุญาติครอบครองให้ถูกกฎหมาย สามารถรวบรวมซากได้ทั้งหมด 35 ชิ้น ประกอบด้วย ซากตัว ซากปีก ซากขน ซากรัง และซากไข่ ซึ่งจำแนกชนิดได้ 24 ชนิด 17 วงศ์ วงศ์ที่พบมากที่สุดคือ วงศ์นกปรอด(Pycnonotidae) ส่วนสาเหตุการตายที่พบมากที่สุดคือ ถูกรถชนตายคิดเป็นร้อยละ 42
References
2. อู่แก้ว ประกอบไวทยกิจ บีเวอร์. นิเวศวิทยา. ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2525.
3. รุ่งโรจน์ จุกมงคล. ดูนกไปทำไม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สารคดี; 2536.
4. Rafe RW, Usher MB, Jefferson RG. Birds on reserves: the influence of area and habitat on Species richness. Journal of Applied Ecology 1985; (22):327-35.
5. Cody ML. Competition and the structure of bird communities. New Jersey: Princeton University Press; 1974.
6. กฤษณา ชายกวด. การศึกษาอาณาเขตครอบครองของนกปรอดหัวโขนในบริเวณสถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย. วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย 2541; 4(2):67-9.
7. Portigo ML. Effects of different types of land use on Pycnonotidae. (Thesis) Chiang Mai: Chiang Mai University; 1994. 97p.
8. Beaver O, Sitasuwan N. Classification of some birds communities in Chiang Mai Province Northern Thailand. Natural History Bulletin of the Siam Society 1985; 3(2): 121-38.
9. โกเศศ รัตนะ, กำพล มีสวัสดิ์. ความหลากหลายของชนิดพันธุ์นกบริเวณป่าชุมชนต้นน้ำเทพา จังหวัด ยะลาและสงขลา. รายงานผลการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย 2542; 3: 530-6.
10. วัชระ สงวนสมบัติ, ยุทธพงษ์ รัศมี. บทที่8เทคนิคการเตรียมตัวอย่างนก. ใน: ยอดชาย ช่วยเงิน. (บรรณาธิการ) คู่มือการเตรียมตัวอย่างทางวิทยาศาสตร์. ปทุมธานี: พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ: 2554. หน้า 89-100.
11. น้ำผึ้ง ยังโป้ย. ลักษณะโครงสร้างของป่าผสมผลัดใบเขาหินปูนบริเวณมหาวิทยาลัยมหิดลกาญจนบุรี. โครงการวิจัยทางชีววิทยาเชิงอนุรักษ์วิทยาศาสตร์บัณฑิต (ชีววิทยาเชิงอนุรักษ์) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี; 2549.