ความสัมพันธ์ของงบประมาณและการใช้จ่ายจริง: การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรสู่การบริหารจัดการงบประมาณของสถาบันการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้แต่ง

  • เอื้อมเดือน แก้วสว่าง

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2015.10

คำสำคัญ:

งบประมาณบริหารจัดการงบประมาณสถาบันการศึกษา

บทคัดย่อ

          การบริหารจัดการงบประมาณแผ่นดินขององค์กรการศึกษาต้องมีความสอดคล้องกับความต้องการ และทิศทางการพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อให้การดำเนินการขององค์กรเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ตอบรับความต้องการของสังคมและประเทศชาติ บทความนี้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างจำนวนงบประมาณรายจ่ายที่สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับ และรายจ่ายจริง โดยใช้แบบจำลองสามเหลี่ยมการบริหารจัดการองค์กร (Triangular Design: A New Organizational Geometry)เป็นกรอบในการวิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการทางด้านงบประมาณ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า สถาบันฯมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงกว่างบประมาณที่ได้รับในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านงบประมาณและการใช้จ่ายโดยที่องค์กรไม่สามารถคาดเดาได้ มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอก (external shocks) ซึ่งต้องการการปรับตัวในระยะสั้น อย่างไรก็ตามภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในยุคปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาด้านการเงินจะคงอยู่ในระยะยาว จำเป็นต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งรูปแบบการบริหารจัดการงบประมาณแบบความร่วมมือของสถาบันฯ ช่วยให้เกิดโครงสร้างการทำงานที่วางอยู่บนความร่วมมือร่วมใจ  ความรับผิดชอบร่วมกัน ความเป็นเจ้าของร่วมกัน จึงเป็นโครงสร้างที่สนับสนุนให้องค์กรสามารถปรับวัฒนธรรมองค์กรไปสู่ทางออกของปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ยุพิน วรสิริอมร จงจิตต์ ฤทธิรงค์ ศุทธิดา ชวนวัน พจนา หันจางสิทธิ์. (2557). การเกิดกับความมั่นคงในประชากรและสังคม. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.

Eyring, H. (2011). Unexpolited efficiencies in higher education.Education Research. (4)7, 1-18.

Fletcher, M. (2005).What happened with education in the latest national budget? TechnologyTeacher, 64(7), 3-3.

Harpalani, V. (2010).Maintaining educational adequacy in times of recession: Judical review ofstate education budget cuts.New York University Law Review, 85.1, 258-288.

Katz, D. and Kahn, R. (1978).“The Social Psychology of Organizations,” New York :Wiley.

Keidel, R. (1990). “Academy of Management Executive 4, 24-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย