โครงการศึกษาความพึงพอใจของบุคคลภายนอกต่อการใช้บริการห้องประชุม สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • สมปรารถนา นามขาน
  • สมเกียรติ เขียวแก่

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2015.8

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ห้องประชุมสถาบันวิจัยประชากรและสังคม

บทคัดย่อ

         การศึกษาความพึงพอใจของบุคคลภายนอกต่อการใช้บริการห้องประชุมสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคคลภายนอกสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มาใช้บริการห้องประชุม 2) เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดจากการให้บริการห้องประชุมสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และ 3) เพื่อนำผลการศึกษา ข้อเสนอแนะ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคของการให้บริการห้องประชุมสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ไปปรับปรุง และเป็นแนวทางในการพัฒนาการบริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลทุติยภูมิในโครงการศึกษาความพึงพอใจของบุคคลภายนอกต่อการใช้บริการห้องประชุมสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งข้อมูลนี้เก็บตัวอย่าง 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลที่ขอใช้ห้องประชุมเพื่อจัดกิจกรรมในนามของหน่วยงาน จำนวน 10 คน และบุคคลที่ใช้ห้องประชุมเนื่องจากหน่วยงานผู้จัดกิจกรรมเชิญให้เข้าประชุม จำนวน  531  คน โดยใช้เวลาเก็บข้อมูล จำนวน 45  วัน นับตั้งแต่วันที่  15  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ถึงวันที่  30  มีนาคม พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามซึ่งมีคำถามปลายเปิดร่วมด้วย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS คำนวณค่าสถิติ เป็นร้อยละ จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ห้องประชุมเพื่อจัดกิจกรรม ในนามของหน่วยงาน จำนวน 10 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้ห้องประชุมเนื่องจากหน่วยงานที่จัดกิจกรรมเชิญให้เข้าร่วมประชุม จำนวน  531  คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย

         การศึกษาความพึงพอใจของบุคคลภายนอกต่อการใช้บริการห้องประชุมสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลของ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ

         1) กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้ห้องประชุมเพื่อจัดกิจกรรม ในนามของหน่วยงาน จำนวน 10 คน โดยภาพรวม และรายด้านทั้ง  3 ด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ  85.8  (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.29) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า  1.1) ข้อมูลความพึงพอใจต่อการใช้บริการสถานที่  ได้แก่ ห้องประชุม (คะแนนเฉลี่ย 4.3) ห้องพักวิทยากร (ห้อง VIP) (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.4) สถานที่บริการจัดเลี้ยง (ห้องอาหาร/ บริเวณที่จัดงาน) (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.29) ห้องสุขา (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.6) และสถานที่จอดรถ (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.7) ซึ่งอยู่ในระดับมากแทบ ทุกข้อ  อย่างไรก็ตาม ความพึงพอใจระดับมากที่สุด คือ ห้องสุขา (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  4.6)  และที่จอดรถได้คะแนน         พึงพอใจต่ำกว่าสถานที่อื่นๆ (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.7) ซึ่งสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องหาแนวทางแก้ไขในลำดับต่อไป  1.2) ข้อมูลด้านการใช้บริการด้านการจัดเลี้ยง (อาหารว่าง/ เครื่องดื่ม)  พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 10 คน จาก 10 หน่วยงาน ส่วนใหญ่ทราบ และเคยใช้บริการ คิดเป็นร้อยละ 50 รองลงมา คือ  ไม่ทราบมาก่อนว่าสถาบันฯ มีการให้บริการจัดเลี้ยงควบคู่กับการขอใช้ห้องประชุมร้อยละ 30 สำหรับเรื่องการใช้บริการด้านจัดเลี้ยงของสถาบันฯ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 50 ไม่ใช้บริการจัดเลี้ยงของสถาบันฯ ทุกครั้ง เนื่องจากผู้ใช้จัดหาร้านมาเอง และการจำกัดของงบประมาณที่ได้รับ รองลงมา ร้อยละ 40 ใช้บริการจัดเลี้ยงของสถาบันฯ ทุกครั้ง เนื่องจากบริการดี และเป็นการบริการที่เบ็ดเสร็จ ทำให้ได้รับสะดวกสบาย จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบความพึงพอใจต่อการใช้บริการด้านจัดเลี้ยงโดยเฉลี่ยเกือบทุกด้านอยู่ในระดับพอใจมาก  ด้านที่ได้รับความพอใจในระดับสูงที่สุดคือ การให้บริการสะดวก รวดเร็ว ตรงเวลา (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.2) ซึ่งความพึงพอใจอยู่ในระดับเดียวกันกับด้านภาชนะที่ใช้จัดอาหารมีความสะอาด สวยงาม ความเหมาะสม (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  4.2) อย่างไรก็ตาม สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ต้องดำเนินการปรับปรุงด้านอาหารให้มีความหลากหลาย อร่อย สะอาด เพียงพอ และคุ้มค่ากับราคามากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้รับความพึงพอใจต่ำกว่าด้านอื่นๆ (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.6)  1.3) ข้อมูลด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ของสถาบันฯ พบว่า เจ้าหน้าที่อาคารสถานที่ได้รับคะแนนความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่นๆ  (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.85 ) เนื่องจากว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายอาคารสถานที่ให้บริการด้วยความเอาใจใส่ สุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส  ให้ความสะดวก กระตือรือร้น เต็มใจให้บริการ ด้วยความเป็นมิตร และให้คำแนะนำข้อมูลอย่างดี  รองลงไปจากเจ้าหน้าที่อาคารสถานที่แล้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายติดต่อ และประสานงานก็ได้รับความพึงพอใจเช่นกัน (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.62) ส่วนฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์ และฝ่ายจัดเลี้ยงได้รับความพึงพอใจในระดับเดียวกัน (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.0)  แต่ที่รับความพึงพอใจน้อยสุด คือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความปลอดภัย (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.85)  ซึ่งสถาบันวิจัยประชากรและสังคมต้องดำเนินการปรับปรุงต่อไป

         2) กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้ห้องประชุมเนื่องจากหน่วยงานจัดกิจกรรมเชิญให้เข้าร่วมประชุม จำนวน 531 คน โดยภาพรวม และรายด้านทั้ง 2 ด้าน พบในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.01) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า  2.1) ข้อมูลด้านความพึงพอใจต่อการใช้บริการสถานที่ พบความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างในระดับมากทุกข้อ โดยพึงพอใจระดับมากที่สุด คือ ห้องสุขา (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  4.24)  รองลงมา คือ ห้องประชุม (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.19) และด้านสถานที่จัดเลี้ยงต้องมีการปรับปรุง โดยได้รับความพอใจน้อยกว่าด้านสถานที่อื่น (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.01)  2.1.1) ด้านห้องประชุม พบความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการใช้บริการห้องประชุมในระดับมากทุกข้อ โดยพึงพอใจด้านความพร้อมของห้อง ความสะอาด และสิ่งอำนวยความสะดวกภายในห้องมากที่สุด (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.32) รองลงมา คือ ด้านบรรยากาศ ภูมิทัศน์โดยรอบส่งเสริมต่อการจัดประชุม (เช่น มีสีเขียวของธรรมชาติ  ร่มรื่น สร้างความสดชื่น และไม่มีกลิ่นอับชื้น เป็นต้น) (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.31) ซึ่งความพอใจอยู่ในระดับเดียวกับด้านวัสดุ/ อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์มีความทันสมัย หลากหลาย และครบถ้วน (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.31)  อย่างไรก็ตาม พบว่าสถาบันวิจัยประชากรและสังคมต้องดำเนินการปรับปรุงด้านการตกแต่งห้องให้เหมาะสม และสวยงาม เนื่องจากได้รับความพอใจน้อยที่สุดกว่าทุกด้าน (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.02)  2.1.2) ด้านสถานที่บริการจัดเลี้ยง (ห้องอาหาร/ บริเวณที่จัดงาน) พบความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างด้านความพร้อม สะอาด เรียบร้อยต่อการใช้งานของสถานที่จัดเลี้ยงฯ สูงกว่าด้านอื่นๆ (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.09) รองลงมา คือ ขนาดมีความเหมาะสม และสามารถรองรับได้อย่างพอเพียง (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.06)  และพบว่าความสะดวกต่อการเข้ารับบริการน้อยที่สุด (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.88) ซึ่งสถาบันวิจัยประชากรและสังคมต้องดำเนินการปรับปรุงต่อไป  2.1.3) ด้านห้องสุขา พบความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างทุกรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุดทั้งหมด โดยพอใจด้านวัสดุ/ อุปกรณ์ภายในห้องสุขามีครบถ้วน ไม่ชำรุดเสียหาย (กระดาษชำระ น้ำยาล้างมือ สายฉีดน้ำ ฯลฯ) มากที่สุด (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.28) รองลงมา คือ แสงสว่าง และการใช้ระบบไฟเซ็นเซอร์ (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.23) น้อยกว่าทุกด้าน คือ ความพร้อมของห้อง และมีกลิ่นสะอาด (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.22)  อย่างไรก็ตาม พบว่ากลุ่มตัวอย่างพึงพอใจการใช้บริการสุขาในทุกด้านมากที่สุด  2.2) ข้อมูลด้านการใช้บริการจัดเลี้ยงและเครื่องดื่มของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม พบความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการใช้บริการจัดเลี้ยงฯ อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับทุกรายข้อ (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  3.61) ซึ่งสถาบันวิจัยประชากรและสังคมต้องพิจารณาถึงรายการอาหาร และเครื่องดื่มที่มีความหลากหลาย และดำเนินการปรับปรุงในลำดับต่อไป

References

ธีระยุทธ์ นิยมกูล. (2553). ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการของแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลลานนนา จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุขสันต์ บัวรภา. (2545). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการกองการฌาปนกิจ กรมสวัสดิการทหารบก. ภาคนิพนธ์ สาขาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สถาบันราชภัฎสวนดุสิต.

สุขุม นวลสกุล. (2538). ทำงานให้ดีต้องมีหัวใจบริการ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเวชการสังคม. กรุงเทพมหานคร: อัดสำเนา.

สุนทรี เวชวิทยาขลัง. (2546). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อการใช้บริการเสริมความงามของร้านพลอยสวย เฮ้าส์ ออฟ บิวตี้ ในจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุนิศา ไชยสิทธิ์. (2553). ความพึงพอใจของผู้ป่วยในต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการของโรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Gilmer. B. V. (1971). Industrail Psychology. New York: McGraw-Hill, Book Company.

Millett. John. D. (1954). Management in the Public Service. New York: Mc Graw-Hill, p. 147.

Prasuraman. A. Zeithnel. V. A. and Barry. L. (1977). “A Conceptual Model of Service Quality and its Implications of Research” Journal of Market, 7 (5), p. 49.

Vroom. H. Victor. (1964). Work and Motivation. New York: Wiley and Sons Inc., p. 99

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย