ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยจากงานประจำ

ผู้แต่ง

  • วรรณพันธุ์ อ่อนแย้ม

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2015.2

คำสำคัญ:

ปัจจัย, การพัฒนา, งานวิจัยจากงานประจำ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยจากงานประจำ ศึกษาปัญหาข้อขัดข้องของการทำวิจัยจากงานประจำ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มประชากรคือพนักงานของวิทยาลัยนานาชาติ ที่ไม่มีผลงานวิจัย และใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างกับกลุ่มประชากรที่มีผลงานวิจัยแล้ว สถิติในการวิเคราะห์ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Independent –Samples T Test และค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Anova) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ไม่มีผลงานวิจัยเห็นว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่  ประสบการณ์ในการทำงาน เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพของการทำวิจัยจากงานประจำในระดับมาก ส่วนปัจจัยลักษณะงานได้แก่  1. ความสำคัญของงาน  2. การมีส่วนร่วมในงาน  3. ความมีอิสระในการทำงาน  4. โอกาสก้าวหน้าในการทำงาน  5. ผู้บริหาร/หัวหน้างาน 6. ค่าตอบแทน/ทุนสนับสนุน  7. เวลาที่ใช้ในการทำวิจัย 8. ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน 9. เครื่องมือและอุปกรณ์ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพของการทำวิจัยจากงานประจำในระดับปานกลาง  ผลจากการสัมภาษณ์กลุ่มที่มีผลงานวิจัยแล้วพบว่า กลุ่มที่มีผลงานวิจัยมีความเห็นด้านลักษณะงานแตกต่างจากกลุ่มที่ไม่มีงานวิจัย คือการมีโอกาสก้าวหน้า และสภาพแวดล้อมที่เสริมให้มีแรงจูงใจ ได้แก่ ทุนสนับสนุน, เพื่อนร่วมงาน /ผู้บังคับบัญชา  และการมีความรู้ด้านการวิจัย  เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพการทำงานวิจัยจากงานประจำในระดับมาก นอกจากนี้ยังพบว่าอุปสรรคที่ทำให้พนักงานไม่ทำวิจัยก็คือ บุคลากรมีภาระงานมากและมีความรู้ในด้านการวิจัยในระดับน้อย

References

ดนัย เทียนพุฒ. (2541). การบริหารทรัพยากรบุคคลในทศวรรษหน้า.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

ธงชัย สันติวงษ์. (2535). พฤติกรรมองค์การ (Organizational Behavior): การศึกษาการบริหารพฤติกรรมองค์การเชิงบริหาร. กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ : บริษัท วี.อินเตอร์ พริ้นท์ จำกัด.

ประเวศน์ มหารัตน์สสกุล. (2548). การพัฒนาองค์การเพื่อการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : บริษัทวิทยไพบูลย์ พริ้นท์ติ้ง จำกัด.

พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ. (2549). ทฤษฏี วิธีวิจัยสถิติ และเทคนิคในการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2548). พฤติกรรมองค์การ(Organizational Behavior). กรุงเทพฯ : บริษัทธรรมสาร จำกัด.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2552). พัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2552, จาก http://th.wikipedia.org

วิจารณ์ พานิช. (2551). คุณค่าการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. วารสารหมออนามัย, 18(1), 7-24.

สมชาย หิรัญกิตติ. (2542). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.

สมบูรณ์ เทียนทอง. (2552). งานวิจัยr2r. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2552, จาก http://anaes1.md.kku.ac.th/

สมยศ นาวีการ. (2521). การพัฒนาองค์การและการจูงใจ. กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์ดวงกมล จำกัด.

สมใจ ลักษณะ. (2549). การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

สุธรรม รัตนโชติ. (2551). การวิจัยเชิงพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์ท้อป จำกัด.

โสภณ ปภาพจน์. (2521). การพัฒนาองค์การแนวคิดและวิธีปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มพ์มิตรสยาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย