ประสิทธิผลของคลินิกไร้พุง ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ ในการลดน้ำหนัก และลดรอบเอวของผู้รับบริการ ปีงบประมาณ 2557

ผู้แต่ง

  • กัลยา อุรัจนานนท์
  • สุนารี เลิศทำนองธรรม
  • ธนัฐพงษ์ กาละนิโย
  • วิทยา บัญยศ
  • ศุภฤกษ์ สื่อรุ่งเรือง

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2015.21

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, คลินิกไร้พุง

บทคัดย่อ

          คลินิกไร้พุง เป็นคลินิกที่มุ่งให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ และมีการกิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายอย่างยั่งยืน ใช้หลักการสร้างความตระหนัก ความรู้ และแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดความเจ็บป่วยและการสูญเสียจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

          คณะผู้วิจัยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในคลินิกไร้พุง สนใจที่จะศึกษาผลดำเนินการ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการลดน้ำหนักและลดรอบเอวของผู้รับบริการในคลินิกไร้พุง เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการของคลินิกไร้พุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อันเป็นการขับเคลื่อนงานประจำสู่งานวิจัย

          การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง แบบพรรณนา ครอบคลุมผู้รับบริการทุกคนในคลินิกไร้พุง ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2557 (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2556 ถึง 30 กันยายน 2557) จำนวน 76 คน จากแบบบันทึกผู้ป่วยนอก และแบบบันทึกการให้บริการในคลินิกไร้พุง

          ความสำเร็จของการลดน้ำหนักในกลุ่มที่มาครบกระบวนการมาตรฐานร้อยละ 78.69 รอบเอวลดลงร้อยละ 68.85 ปัจจัยที่ส่งผลต่อกลุ่มที่น้ำหนักลดลงที่สัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ “เหตุผลที่เข้าร่วมคลินิกไร้พุงเพื่อลดน้ำหนัก”

          รูปแบบและการดำเนินการในคลินิกไร้พุง ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ มีประสิทธิภาพในการลดน้ำหนักและรอบเอวของผู้รับบริการโดยเฉพาะเมื่อได้เข้าร่วมครบกระบวนการเป็นลำดับมาตรฐานของคลินิก

          การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย นอกจากรูปแบบการให้ความรู้ต่างๆ ที่กำหนดไว้แล้วในคลินิกไร้พุง การให้คำปรึกษา การสร้างความตระหนักและแรงจูงใจ รวมถึงการให้ความรู้ ควรพิจารณาโดยผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง (Patient’s problem based) เนื่องจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของบุคคลเป็นเรื่องที่เฉพาะตัว ขึ้นอยู่กับบริบทและปัจจัยที่แวดล้อมของบุคคลนั้น

References

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ. 1st ed. คงประเสริฐจุรีพร, อภิญญาธิดารัตน์, editors. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.

กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือกระบวนการจัดการคลินิกไร้พุง Diet & Physical Activity Clinic (DPAC). 1st ed. จันทร์ตรีชัยรัชต์, editor. นนทบุรี: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม; 2557.

อุรัจนานนท์ กัลยา, รัตนภิรมย์ มนัญญา, กาละนิโย ธนัฐพงษ์, บุญยศ วิทยา. รูปแบบคลินิกคนไทยไร้พุง (Diet Physical Activity Clinic : DPAC). วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา. 2555;2(1):57–66.

Artaud F, Dugravot A, Sabia S, Singh-Manoux A, Tzourio C, Elbaz A. Unhealthy behaviours and disability in older adults: three-City Dijon cohort study. BMJ [Internet]. 2013 Jan 23 [cited 2015 Aug 28];347(jul23_1):f4240. Available from: http://www.bmj.com/content/347/bmj.f4240

Barba C, Cavalli-Sforza T, Cutter J, Darnton-Hill I, Deurenberg P, Deurenberg-Yap M, et al. Appropriate body-mass index for Asian populations and its implications for policy and intervention strategies. Lancet. 2004;363(9403):157–63.

Bloom, D.E., Cafiero, E.T., Jané-Llopis, E., Abrahams-Gessel, S., Bloom, L.R., Fathima, S. F, A.B., Gaziano, T., Mowafi, M., Pandya, A., Prettner, K., Rosenberg, L., Seligman, B., Stein, A.Z., & Weinstein C. The Global Economic Burden of Noncommunicable Diseases [Internet]. Geneva; 2011. Available from: http://www3.weforum.org/docs/WEF_Harvard_HE_GlobalEconomicBurdenNonCommunicableDiseases_2011.pdf

Cresci B, Rotella CM. Motivational readiness to change in lifestyle modification programs. Eat Weight Disord [Internet]. Jan [cited 2015 Sep 22];14(2-3):e158–62. Available from:

Dixon A. Motivation and Confidence: what does it take to change behaviour? [Internet]. London; 2008 [cited 2015 Sep 22]. Available from: http://www.kingsfund.org.uk/sites/files/kf/field/field_document/motivation-confidence-health-behavious-kicking-bad-habits-supporting-papers-anna-dixon.pdf , http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19934632 , http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24206025 , http://www.pubmedcentral.nih.gov/articlerender.fcgi?artid=2794451&tool=pmcentrez&rendertype=abstract

Manteuffel M, Williams S, Chen W, Verbrugge RR, Pittman DG, Steinkellner A. Influence of patient sex and gender on medication use, adherence, and prescribing alignment with guidelines. J Womens Health (Larchmt) [Internet]. 2014 Feb [cited 2015 Aug 9];23(2):112–9. Available from:

Ngo VK, Rubinstein A, Ganju V, Kanellis P, Loza N, Rabadan-Diehl C, et al. Grand challenges: Integrating mental health care into the non-communicable disease agenda. PLoS Med [Internet]. Public Library of Science; 2013 Jan 14 [cited 2015 Jul 26];10(5):e1001443. Available from: http://journals.plos.org/plosmedicine/article?id=10.1371/journal.pmed.1001443

Ross R, Janiszewski PM. Is weight loss the optimal target for obesity-related cardiovascular disease risk reduction? Can J Cardiol [Internet]. 2008 Sep [cited 2015 Sep 22];24 Suppl D:25D – 31D. Available from:

World Health Organization. 10 FACTS ON NONCOMMUNICABLE DISEASES [Internet]. 2013 [cited 2015 Sep 22]. p. 10. Available from: http://www.who.int/features/factfiles/noncommunicable_diseases/facts/en/index9.html

World Health Organization. Noncommunicable diseases country profiles 2014 [Internet]. Geneva; 2014. Available from: http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/128038/1/9789241507509_eng.pdf?ua=1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-06-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย