การศึกษารูปแบบกลุ่มผลงานวิจัยของงานวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ

ผู้แต่ง

  • มาลินี รุ่งสว่าง
  • กัลยพัชร ภู่สาระ
  • ประทักษ์ โอประเสริฐสวัสดิ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2015.19

คำสำคัญ:

ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ, รูปแบบงานวิจัย, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

บทคัดย่อ

          ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติถือว่าเป็นตัวชี้วัดสำคัญอันหนึ่ง ที่ใช้ในการอ้างอิงถึงความเป็นเลิศทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยจะถือเป็นการดีถ้าผลงานวิจัยนั้นก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงสุขภาพของประชาชนในวงกว้างจากองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากผลงานวิจัย แต่อย่างไรก็ตาม  การได้ผลงานวิจัยนั้นเกิดจากอาจารย์ภายในคณะฯ ที่จะต้องดำเนินผลงานวิจัยให้เป็นไปตามเป้าหมายของคณะฯ ที่ได้ตั้งไว้ ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทำการประเมินผลงานวิจัยของคณะฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติจากฐานข้อมูล Scopus โดยทำการศึกษาย้อนหลัง 3 ปี ระหว่างปี พ.ศ.2555 – 2557 พบว่าคณะฯ มีอาจารย์ประมาณ 642 – 707 คน มีจำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติประมาณ 248 – 271 เรื่องต่อปี และคิดเป็นจำนวนผลงานวิจัยต่ออาจารย์ประมาณ 0.37 - 0.40 เรื่องต่อคนต่อปี ซึ่งยังน้อยกว่าเป้าหมายที่คณะฯ ตั้งไว้ที่ 0.50 เรื่องต่อคนต่อปี และเมื่อพิจารณาถึงจำนวนอาจารย์ของคณะฯ ที่มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติพบว่ามีเพียงร้อยละ 25 ของอาจารย์ทั้งหมดของคณะฯ เท่านั้น ในส่วนของรูปแบบงานวิจัยพบว่าร้อยละของผลงานวิจัยเป็นดังนี้ เป็นงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานและเชื่อมโยงทางคลินิก ร้อยละ 17.26 เป็นงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและระบาดวิทยาคลินิก ร้อยละ 34.40 และเป็นงานวิจัยด้านการดูแลรักษาทางคลินิก ร้อยละ 48.34 ตามลำดับ และเมื่อทำการจัดกลุ่มผลงานวิจัยตามลักษณะผู้ป่วย สาเหตุของโรค และระบบอวัยวะที่เกิดโรคพบว่าเป็นการศึกษาวิจัยในผู้ป่วยผู้ใหญ่เป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.58 โดยมีสาเหตุของโรคเป็นการติดเชื้อร้อยละ 15.86 เป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง ร้อยละ 14.32 และเป็นโรคที่เกิดขึ้นภายหลังที่ไม่ใช่การติดเชื้อ เนื้องอกหรือมะเร็งและการบาดเจ็บ ร้อยละ 63.43 และระบบอวัยวะที่เกิดโรคที่พบได้แก่ โรคที่เกิดกับหลายอวัยวะพร้อมกันร้อยละ 24.81 ทางเดินปัสสาวะหรือการสืบพันธุ์  ร้อยละ 12.02 โรคเลือดธาลัสสีเมียหรือฮีโมฟิเลีย ร้อยละ 9.46 การหายใจ ร้อยละ 8.18 กระดูกและกล้ามเนื้อ ร้อยละ 6.1 สมอง ร้อยละ 6.39 ทางเดินอาหาร ร้อยละ 6.14 หัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 5.88 ต่อมไร้ท่อ ร้อยละ 5.50 เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและได้รับการอ้างอิงรวมถึงสามารถนำไปสร้างนโยบายสุขภาพได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยอาจารย์ที่มีศักยภาพสูงในการทำวิจัย และทำงานวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานและเชื่อมโยงเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ผลงานวิจัยของคณะฯ จะเป็นด้านการดูแลรักษาทางคลินิกและด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและระบาดวิทยาคลินิกเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งงานวิจัยจะต้องมุ่งประเด็นที่อาจารย์ของคณะฯ มีความชำนาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน ได้แก่ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ โรคเลือดธาลัสสีเมียและฮีโมฟิเลีย โรคของระบบต่อมไร้ท่อและมะเร็งก็จะทำให้คณะฯ สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ที่ได้ตั้งไว้

References

ชยันตร์ธร ปทุมานนท์. ระบาดวิทยาคลินิกแนวคิดเชิงทฤษฎี. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).2554: 1-225.

มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี.ข้อตกลงการปฏิบัติงาน (PA: Performance Agreement)ระหว่างคณบดีกับหัวหน้าภาควิชาฯของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, 2555-2557. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี.ข้อตกลงการปฏิบัติงาน (PA: Performance Agreement)ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, 2555-2557. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี.รายงานประจำปีของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี,2555-2557.

มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ประกาศคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เรื่อง ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำวิจัยของอาจารย์แพทย์ พ.ศ.2556 [ประกาศ]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ประกาศคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ทุนอุดหนุนการวิจัยจากเงินรายได้ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีพ.ศ.2552 [ประกาศ]. นครปฐม:มหาวิทยาลัยมหิดล.

มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ประกาศคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการนำผลงานทางวิชาการและการวิจัยลงตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ พ.ศ.2556 [ประกาศ]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ประกาศคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเดินทางไปประชุมและเสนอผลงานทางวิชาการ ณ ต่างประเทศ พ.ศ.2556 [ประกาศ]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ประกาศคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินค่าตอบแทนแก่ผู้มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับสากล พ.ศ.2555 [ประกาศ]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย