เสียงลูกค้ากับแนวทางการพัฒนางานบริการยืมระหว่างห้องสมุด ในมหาวิทยาลัยมหิดล
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2016.13คำสำคัญ:
บริการยืมระหว่างห้องสมุด, หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล, ความพึงพอใจของผู้รับบริการห้องสมุดบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของผู้รับบริการที่มีต่อการใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดลของหอสมุดกลาง หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อนำผลการศึกษามาใช้เป็นแนวทางการพัฒนางานบริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดล
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาระดับปริญญาโท/เอกขอใช้บริการจำนวนมากที่สุด ร้อยละ 45.61 ความถี่ที่ขอใช้บริการนานๆ ครั้งจำนวนมากที่สุด ร้อยละ 41.23 วัตถุประสงค์ในการใช้บริการเพื่อทำวิจัย/ทำวิทยานิพนธ์จำนวนมากที่สุด ร้อยละ 48.53 มีระดับความพึงพอใจโดยรวม ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการขอใช้บริการ ในระดับมาก ( = 4.34) ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการในระดับมากที่สุด ( = 4.67) ระดับความพึงพอใจในภาพรวมของบริการยืมระหว่างห้องสมุดในระดับมากที่สุด ( = 4.61) ผู้รับบริการยืมระหว่างห้องสมุดให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการยืมระหว่างห้องสมุด ด้านแบบฟอร์มการขอใช้บริการให้ยืมระหว่างห้องสมุดควรระบุรายการยืมได้มากกว่า 1 เล่ม ควรมองเห็นได้ชัดเจนจากหน้าเว็บไซต์ของหอสมุดและคลังความรู้ฯ ควรขอใช้บริการจากหน้าจอการสืบค้นหนังสือได้ และระยะเวลาในการจัดส่งควรน้อยกว่า 3 วันทำการ
ผลการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการพัฒนางานบริการยืมระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดลโดยร่วมมือกับงานเทคโนโลยีสารสนเทศทำการปรับปรุงระบบบริการยืมระหว่างห้องสมุดออนไลน์ให้ใช้งานได้ง่าย สามารถส่งคำขอใช้บริการจากหน้าจอการสืบค้นหนังสือได้ และระบุรายการยืมได้มากกว่า 1 เล่ม รวมถึงการสร้างความร่วมมือเพื่อให้ห้องสมุดทุกคณะ/สถาบัน ได้เข้าร่วมบริการยืมระหว่างห้องสมุด เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างคุ้มค่า เป็นการอำนวยความสะดวก ลดภาระ ค่าใช้จ่าย และประหยัดเวลาของผู้รับบริการ
References
มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. (2554). ประวัติ. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2557, จาก http://www.li.mahidol.ac.th/ about/history-tha.php
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2558, จาก http://www.mahidol.ac.th/th/welfare9.htm
มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). หอสมุดกลาง. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2558, จาก http://www.li.mahidol.ac.th/branch/ cl-tha.php#resource
มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). ทรัพยากรของห้องสมุดในมหิดล. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2558, จาก http://www.li.mahidol.ac.th/branch/ index-libraries-tha.php
มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). บริการยืมระหว่างห้องสมุดมหิดล. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2558, จาก http://www.li.mahidol.ac.th/form/ bookreq-tha.php
มะลิวัลย์ น้อยบัวทิพย์. (2543). การใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
วงเดือน เจริญ. (2559). การบริการยืมระหว่างห้องสมุดของผู้ใช้บริการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ศุภชัย อนวัชพงศ์, ฉวีวรรณ วันสาสืบ, และสุดาวดี ศรีสุดตา. (2549). การวิเคราะห์การใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุดของผู้ใช้บริการห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีงบประมาณ 2543 - 2547. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
สุกัญญา ธีรพงศ์ภักดี. (2541). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.