การสำรวจปริมาณรังสีอ้างอิงที่ผู้ป่วยได้รับจากการรักษามะเร็งตับโดยวิธีทีเอซีอี ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • ปวริศร ทิมาสาร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุรภี อ่ำโต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วชิราภรณ์ ดีภา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ชัยณรงค์ นวลคล้าย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พิรญา สุขศิวกร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2023.13

คำสำคัญ:

มะเร็งตับ, ทีเอซีอี, ปริมาณรังสีอ้างอิง

บทคัดย่อ

         มะเร็งตับ (Hepatocellular Carcinoma: HCC) เป็นโรคมะเร็งที่สามารถพบได้มากเป็นอันดับต้นๆ ของ โรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งการรักษาที่ดีที่สุดของมะเร็งตับคือการผ่าตัดเอาเนื้องอกออก แต่ผู้ป่วยบางราย
ไม่สามารถผ่าตัดได้ เนื่องจากมะเร็งตับมักเกิดร่วมกับภาวะตับอักเสบเรื้อรัง (Chronic Hepatitis) และภาวะตับแข็ง (Cirrhosis) หน่วยรังสีร่วมรักษา (Interventional Radiology: IR) จึงเข้ามามีบทบาทในการรักษามะเร็งตับร่วมกับแพทย์สาขาอื่น ๆ ซึ่งวิธี Transarterial Chemoembolization (TACE) ก็เป็นหนึ่งในวิธีการรักษามะเร็งตับแต่เนื่องจากการตรวจรักษามะเร็งตับด้วยวิธีด้วย TACE มีการใช้รังสีเอกซ์ซึ่งเป็นรังสีประเภทที่ก่อให้แตกตัวได้ (Ionizing Radiation) จึงอาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับความเสี่ยงหรืออันตรายจากรังสีได้

         การสำรวจปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการรักษามะเร็งตับโดยวิธีทีเอซีอี (TACE) ของ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับปริมาณรังสีอ้างอิง (DRL) ของผู้ป่วยที่รักษามะเร็งตับโดยวิธี TACE จากการศึกษาอื่น ๆ และเป็นข้อมูลอ้างอิง เพื่อประเมินคุณภาพการใช้ปริมาณรังสีสำหรับการรักษามะเร็งตับโดยวิธีทีเอซีอี (TACE) จึงได้ทำการสำรวจปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้จากการรักษามะเร็งตับโดยวิธี TACE ด้วยเครื่องเอกซเรย์ระบบหลอดเลือด Toshiba รุ่น Infinix-i ณ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2562

         ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่าปริมาณรังสีอ้างอิง (DRL; Typical Value) (ค่ามัธยฐาน) มีค่า DAP และ CAK คือ 159.13 Gy.cm2  และ 518.76 mGy ตามลำดับ ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับปริมาณรังสีอ้างอิง (DRL; Local DRLs, National DRLs) ของผู้ป่วยที่รักษามะเร็งตับโดยวิธี TACE จากการศึกษาอื่น ๆ พบว่าค่าที่ได้จากค่า DAP และค่า CAK มีค่าน้อยกว่าทุกการศึกษา ซึ่งจากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ในปัจจุบัน นั่นคือใช้ระบบควบคุมปริมาณรังสีตามขนาดหรือมวลของผู้ป่วย (Automatic Brightness Control: ABC) และค่าพารามิเตอร์อื่น ๆ นั้นสามารถทำการถ่ายภาพทางรังสี ซึ่งให้ปริมาณรังสีที่เหมาะสมเมื่อเปรียบกับการศึกษาอื่น ๆ และได้ภาพที่มีคุณภาพเพียงพอต่อการวินิจฉัย และใช้นำทางในการรักษาของรังสีแพทย์ และอาจมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ร่วมด้วย

References

ศิวนันท์ ฟองจันทร์, สุรีพันธุ์ วงพงศธร, พนัชกร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม, และ เกษม ชูรัตน์. (2562). การป้องกันและควบคุมมะเร็งตับ. วารสารโรคมะเร็ง, 39(2), 64-74.

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (ม.ป.ป.). มาตรฐาน SizeThai คืออะไร. SizeThailand. http://www.sizethailand.org/sizethai.html.

วรวรุตม์ จันเจือมาศ. (2558). การศึกษาปริมาณรังสีที่บุคลากรได้รับขณะทำหัตถการส่องกล้องฉีดสีท่อน้ำดีและตับอ่อนเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยท่านอนคว่ำและผู้ป่วยท่านอนตะแคงซ้าย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. คลังปัญญาจุฬาแห่งประเทศไทย (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/51348/1/5774081030.pdf

Balter, S., Schueler, B. A., Miller, D. L., Brinker, J. A., Chambers, C. E., Layton, K. F., Marx, M. V., McCollough, C. H., Strauss, K. J., Wagner, L. K. (2010). Radiation dose management for fluoroscopically-guided interventional medical procedures. NCRP Report, 168, 1-325.

Balter, S., Schueler, B. A., Miller, D. L., Cole, P. E., Lu, H. T., Berenstein, A., Albert, R., Georgia, J. D., Noonan, P. T., Russell, E. J., Malisch, T. W., Vogelzang, R. L., Geisinger, M., Cardella, J. F., St. George, J. Miller, G. L., III, & Anderson, J. (2004). Radiation doses in interventional radiology procedures: The RAD-IR study: Part III: Dosimetric performance of the interventional fluoroscopy Units. Journal of Vascular and Interventional Radiology, 15(9), 919-926. https://doi.org/10.1097/01.RVI.0000130864.68139.08

Erskine, B. J., Brady, Z., & Marshall, E. M. (2014). Local diagnostic reference levels for angiographic and fluoroscopic procedures: Australian practice. Australasian Physical & Engineering Sciences in Medicine, 37, 75-82. https://doi.org/10.1007/s13246-014-0244-2

Hadid-Beurrier, L., Waryn, M. J., Ajavon, Y., Seror, O., Sellier, N., & Bondy, F. R. (2014). Local dose reference levels for abdominal interventional radiology procedures (Poster no. C-2053) [Poster presentation]. ECR 2014. https://dx.doi.org/10.1594/ecr2014/C-2053

International Atomic Energy Agency. (2009). Establishing guidance levels in X ray guided medical interventional procedures: A pilot study. Safety Reports Series, 59, 1-147.

Isoardi, P., D'Ercole, L., Cavallari, M., Gianusso, L., Pini, S., Giordano, C., Angelini, L., Colombo, P. E., Canne, S. D., Vecchio, A. D., Liberto, R. D., Farnedi, S., Ghetti, C., Lorenzini, E., Origgi, D., Paruccini, N., Pasquino, M., Cutaia, C., Quattrocchi, M., . . . Venturi, G. (2019). Patient dose in angiographic interventional procedures: A multicentre study in Italy. Physica Medica, 64, 273-292. https://doi.org/10.1016/j.ejmp.2019.06.008

Japan Network for Research and Information on Medical Exposure (J-RIME). (2020). National diagnostic reference levels in Japan: Japan DRL 2020. Radher, Japan Website. http://www.radher.jp/J-RIME/report/DRL2020_Engver.pdf

Martin, C. J., Darragh, C. L., McKenzie, G. A., & Bayliss, A. P. (1993). Implementation of a programme for reduction of radiographic doses and results achieved through increases in tube potential. The British Journal of Radiology, 66(783), 228-233.

Miller, D. L., Balter, S., Cole, P. E., Lu, H. T., Schueler, B. A., Geisinger, M., Berenstein, A., Albert, R., Georgia, J. D., Noonan, P. T., Cardella, J. F., St. George, J., Russell, E. J., Malisch, T. W., Vogelzang, R. L., Miller, G. L., III, & Anderson, J. (2003). Radiation doses in interventional radiology procedures: The RAD-IR study Part I: Overall measures of dose. Journal of Vascular and Interventional Radiology, 14(6), 711-727. https://doi.org/10.1097/01.RVI.0000079980.80153.4B

Miller, D. L., Hilohi, C. M., & Spelic, D. C. (2012). Patient radiation doses in interventional cardiology in the US: Advisory data sets and possible initial values for US reference levels. Medical Physics, 39(10), 6276-6286. https://doi.org/10.1118/1.4754300

Ruiz-Cruces, R., Vano, E., Carrera-Magariño, F., Moreno-Rodriguez, F., Soler-Cantos, M. M., Canis-Lopez, M., Hernández-Armas, J., Diaz-Romero, F. J., Rosales-Espizua, F., Fernandez-Soto, J. M., Sanchez-Casanueva, R., Martin-Palanca, A., Perez-Martinez, M., Gil-Agudo, A., Zarca-Diaz, M. A., Parra-Osorio, V., Ruiz-Canela, J. J. M., Moreno-Sanchez, T., & Lopez-Medina, A., . . . Cañete, S. (2016). Diagnostic reference levels and complexity indices in interventional radiology: A national programme. European Radiology, 26, 4268-4276. https://doi.org/10.1007/s00330-016-4334-2

Schegerer, A., Loose, R., Heuser, L. J., & Brix, G. (2019). Diagnostic reference levels for diagnostic and interventional X-ray procedures in Germany: Update and handling. Fortschr Röntgenstr, 191(8), 739-751. https://doi.org/10.1055/a-0824-7603

Smith, H. (Ed.). (1991). Recommendations of the international commission on radiological protection. Annals of the ICRP, 21(1-3), 1-201.

Valentin, J. (Ed.). (2001). Diagnostic reference levels in medical imaging: Review and additional advice (ICRP supporting guidance 2). Annals of the ICRP, 31(4), 33-52.

Vañó, E., Miller, D. L., Martin, C J., Rehani, M. M., Kang, K., Rosenstein, M., Ortiz-López, P., Mattsson, S., Padovani, R., & Rogers, A. (2017). ICRP publication 135: Diagnostic reference levels in medical imaging. Annals of the ICRP, 46(1), 1-144. http://doi.org/10.1177/0146645317717209.

Wall, B. F. (2001). Diagnostic reference levels-the way forward. The British Journal of Radiology, 74(885), 785-788. https://doi.org/10.1259/bjr.74.885.740785

Wall, B. F., & Shrimpton, P. C. (1998). The historical development of reference doses in diagnostic radiology. Radiation Protection Dosimetry, 80(1-3), 15-19. https://doi.org/10.1093/oxfordjournals.rpd.a032492

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย