การปฏิบัติตามบทบาทที่คาดหวังกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของอาจารย์ที่ปรึกษา ในทัศนะของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • รันดา รุจิชินวงศ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2016.7

คำสำคัญ:

บทบาทที่คาดหวัง, บทบาทที่ปฏิบัติจริง, อาจารย์ที่ปรึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับบทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่ปฏิบัติจริงของอาจารย์ที่ปรึกษาตามทัศนะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2558 - 2559  ซึ่งบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา จะประกอบด้วยด้านต่างๆ 5 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านวิธีการให้คำปรึกษา ด้านบุคลิกภาพ ด้านการให้ความช่วยเหลือนักศึกษา และด้านการพัฒนานักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่กำลังศึกษาทุกชั้นปี ที่ลงทะเบียนในปีการศึกษา 2558 - 2559 จำนวนทั้งสิ้น 373 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา ส่วนที่ 2 สอบถามเกี่ยวกับบทบาทที่คาดหวังกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของอาจารย์ที่ปรึกษาตามทัศนะของนักศึกษา และส่วนที่ 3  สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับอาจารย์ที่ปรึกษาและความคาดหวังของบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา ที่นักศึกษาคาดหวังไว้ในอนาคต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการศึกษา พบว่าบทบาทที่คาดหวังของนักศึกษาที่มีต่ออาจารย์ที่ปรึกษา ตามทัศนะของนักศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า บทบาทที่คาดหวังของนักศึกษาที่มีต่ออาจารย์ที่ปรึกษาในทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านวิชาการ ด้านการให้ความช่วยเหลือนักศึกษา ด้านการพัฒนานักศึกษา และด้านวิธีการให้คำปรึกษา

          สำหรับบทบาทที่อาจารย์ที่ปรึกษาได้ปฏิบัติจริงตามทัศนะของนักศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าในบทบาทที่อาจารย์ที่ปรึกษาได้ปฏิบัติจริงอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านวิชาการ ด้านการพัฒนานักศึกษา ด้านการให้ความช่วยเหลือนักศึกษา และด้านวิธีการให้คำปรึกษา

          เมื่อเปรียบเทียบบทบาทที่คาดหวังกับบทบาทที่อาจารย์ที่ปรึกษาได้ปฏิบัติจริง ตามทัศนะของนักศึกษา โดยรวม พบว่าความคาดหวังของนักศึกษาที่มีต่อบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาโดยรวม ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก แต่การปฏิบัติจริงในบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ตามทัศนะของนักศึกษาโดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับปานกลางสำหรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนักศึกษา พบว่า อาจารย์ที่ปรึกษาควรเป็นอาจารย์ที่สอนในสาขาวิชาที่นักศึกษาเรียนอยู่เท่านั้น อาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน ควรรับผิดชอบดูแลนักศึกษาไม่เกิน 20 คนต่อกลุ่ม และรับผิดชอบตลอดหลักสูตรจนจบการศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาควรพบนักศึกษาทั้งกลุ่มอย่างน้อย  1 ครั้งต่อเดือน และเมื่อนักศึกษาต้องการรับคำปรึกษาควรมีการนัดหมายก่อนเข้าพบตามเวลาที่นัดหมาย

References

กรมพลศึกษา. (2533). บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาตามความหวังของนักศึกษาวิทยาลัยพลศึกษา. เชียงใหม่: ฝ่ายวิชาการวิทยาลัยพลศึกษาเชียงใหม่ (เอกสารอัดสำเนา).

จรัส สุวรรณเวลา. (2533). วอนอาจารย์ที่ปรึกษาในมหาวิทยาลัยสร้างคุณภาพให้ปัญญาชนชาวไทย. วัฎจักรการศึกษา. 12(17); 7.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2543). จท.95 คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2543). การศึกษารูปแบบบทบาทและหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ ระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ประหยัด สายวิเชียร. (2529). ความคิดเห็นและความคาดหวังของนักศึกษาที่มีต่อบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปราณี หะซัน. (2542). การปฏิบัติตามบทบาทที่เป็นจริงและที่คาดหวังของอาจารย์ที่ปรึกษาในทัศนะของนักศึกษา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฝ่ายพัฒนานักศึกษา หน่วยกิจการนักศึกษาและชุมชนสัมพันธ์. (2541). การให้คำปรึกษา. (เอกสารอัดสำเนา).

ลออ ชุติกร. (2520). บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาในวิทยาลัยครูในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิภาดา คุปตานนท์. (2534). การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทที่คาดหวังกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของอาจารย์ตามการรับรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.

สมยศ พันธุ์กสิกร. (2542). การปฏิบัติตามบทบาทที่เป็นจริงและที่คาดหวังของอาจารย์ที่ปรึกษาในทัศนะของนักเรียน นักศึกษวิทยาลัย เทคนิคลำปาง. การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุจริต เพียรชอบ. (2521). ที่ปรึกษาทางสว่างไสว: ประมวลความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรและการสอนระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: กรมสามัญศึกษา กองการวิจัยการศึกษา.

สุจริต เพียรชอบ และ วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2523). รายงานการวิจัย สภาพการให้คำปรึกษานิสิตในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาพรรณ โคตรจำรัส. (2522). นิสิตนักศึกษากับการปรับตัวในมหาวิทยาลัย. เอกสารการประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องบทบาทและความรับผิดชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาต่อนิสิต. หน่วยพัฒนาคณาจารย์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำเนาว์ ขจรศิลป์. (2529). รายงานการสัมมนาอาจารย์ที่ปรึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. กรุงเทพฯ : ทบวงมหาวิทยาลัย.

สำเนาว์ ขจรศิลป์. (2529). การพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำเนาว์ ขจรศิลป์. (2533). ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา. โครงการจัดทำเอกสารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษา กรุงเทพฯ : ทบวงมหาวิทยาลัย.

อัญชลี เศรษฐเสถียร. (2530). บทบาทที่คาดหวังของนักศึกษาต่ออาจารย์ที่ปรึกษาในการแนะแนว

การศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัย เชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย