การเลือกใช้ฐานข้อมูลและตัวชี้วัดเพื่อประเมินคุณภาพการวิจัย

ผู้แต่ง

  • ดุษณี ดำมี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2016.2

คำสำคัญ:

บทความวิชาการ, การประเมินคุณภาพ, ฐานข้อมูล, วารสารวิชาการระดับชาติ, วารสารวิชาการระดับนานาชาติ

บทคัดย่อ

         บทความวิชาการที่มีคุณภาพส่งผลให้วารสารที่ลงตีพิมพ์บทความนั้นมีคุณภาพเช่นกัน  ปัจจุบันมีการคิดระบบและวิธีการประเมินคุณภาพของวารสารทางวิชาการและบทความของนักวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ  โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณาหลายอย่างประกอบกัน ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ

         บทความนี้ ผู้เขียนได้เสนอเครื่องมือสืบค้นและฐานข้อมูลที่ใช้ในการประเมินคุณภาพวารสารและบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ได้แก่ ฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย Thai-Journal Citation Index (TCI) Centre  ใช้ในการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการระดับชาติ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1 เป็นกลุ่มวารสารที่มีคุณภาพระดับดีที่สุด กลุ่ม 2 เป็นกลุ่มวารสารที่มีคุณภาพระดับดี กลุ่ม 3 เป็นกลุ่มวารสารที่มีคุณภาพระดับพอใช้  ส่วนฐานข้อมูล Web of Science (WOS) และฐานข้อมูล SCImago Institutions Rankings (SJR) ใช้ในการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการระดับนานาชาติ โดยมีวิธีการประเมินจากการหาค่า Quartile Score (Q) ของวารสาร ได้แก่ Q1 เป็นกลุ่มวารสารอันดับที่ 1 ซึ่งมีคุณภาพดีที่สุดในสาขานี้ (อยู่เหนือเปอร์เซ็นไทล์ที่ 75) Q2 เป็นกลุ่มวารสารอันดับที่ 2  ซึ่งมีคุณภาพดีในสาขาวิชานี้ (อยู่ระหว่างค่ามัธยฐาน (Median) และเปอร์เซ็นไทล์ที่ 75) Q3  เป็นกลุ่มวารสารอันดับที่ 3 ซึ่งมีคุณภาพพอใช้ในสาขาวิชานี้ (อยู่ระหว่างเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 และค่ามัธยฐาน (Median)) Q4  เป็นกลุ่มวารสารอันดับที่ 4 ซึ่งมีคุณภาพน้อยสุดในสาขาวิชานี้ (น้อยกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25)

References

นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555 - 2559) .ออนไลน์. แหล่งที่เข้าถึง http://rdo.psu.ac.th/images/D1/strategy/2555-2559_nation.pdf.เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2559.

นโยบายการวิจัยของชาติระยะยาว (พ.ศ. 2553-2572). ออนไลน์. แหล่งที่เข้าถึง http://www1.nrct.go.th/index.php?mod=contents&req=view&id=886. เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2559.

รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. 2556. ดัชนีวัดคุณภาพวารสารและผลงานวิจัยชนิดต่างๆที่นักสารสนเทศควรรู้จัก. ออนไลน์. แหล่งที่เข้าถึง http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/pdf/metrics.pdf.เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2559.

ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสาร (Thai-Journal Citation Index (TCI) Centre. 2558. การจัดกลุ่มวารสารในฐานข้อมูล TCI. ออนไลน์.แหล่งที่เข้าถึง.http://www.kmutt.ac.th/jif/ public_html/index.html. เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2559.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.ระบบประเมินผลการวิจัยและพัฒนาของประเทศ. 17 พฤษภาคม 2555. ออนไลน์. แหล่งที่เข้าถึง http://tdri.or.th/research/d2012010/ เข้าถึงเมื่อ 6 มกราคม 2559.

สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. 2555. วิถีวิจัยคุณภาพ.ออนไลน์. แหล่งที่เข้าถึง. http://www.eqd.cmu.ac.th/DocumentEQD/. เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2559.

สถาบันคลังสมองของชาติ. 2554. โครงการประสานงานเพื่อปฏิรูประบบการวิจัยของประเทศ. ออนไลน์. แหล่งที่เข้าถึง.http://www.mua.go.th/users/bhes/front_home/Ohec_bhes2554/Doc_54/p9_09.00-10.15/9_02.pdf. เข้าถึงเมื่อ 6 มกราคม 2559.

Scimago Lab. The Shape of Science. Online. Availablefrom. http://pcs.webofknowledge.com/?Func=Exit. Retrieved January 29, 2016.

Thomson Reuters. ISI Web of Knowledge. online. Available from. http://pcs.webofknowledge.com/?Func=Exit. Retrieved March 29, 2016.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-27

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ