เทคนิคการลงพื้นที่คัดกรองและเก็บข้อมูล: ประสบการณ์ภาคสนาม โครงการการคัดกรองและโปรแกรมการป้องกันความรุนแรงจากคนใกล้ชิด ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงทั่วไปที่มารับบริการในโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ดุษณี ดำมี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2016.1

คำสำคัญ:

การสร้างความประทับใจ, เทคนิคการสร้างความสนิทนสนมและไว้วางใจ, เทคนิคการคัดกรอง, เทคนิคการถามตามแบบสอบถาม, เทคนิคการติดตามประเมินผล

บทคัดย่อ

         การลงพื้นที่เพื่อคัดกรองและเก็บข้อมูลที่มีคำถามในลักษณะละเอียดอ่อน (Sensitive Question) ซึ่งผู้ให้ข้อมูลหรือผู้ตอบอาจถูกถามในประเด็นที่อ่อนไหว ทำให้ข้อมูลที่ได้มาไม่ตรงกับความเป็นจริง และไม่น่าเชื่อถือ ดังนั้น นักวิจัยจำเป็นต้องมีกลยุทธ์และเทคนิคในการตั้งคำถามเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งผู้เขียนได้เสนอเทคนิคในการลงพื้นที่เพื่อคัดกรองและเก็บข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ โดยครอบคลุมเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้  1. เทคนิคการสร้างความประทับใจเมื่อแรกพบ  ได้แก่ การสร้างความประทับใจผ่านการแต่งกาย   การสร้างความประทับใจผ่านการสื่อสาร  สร้างความประทับใจผ่านรอยยิ้ม การสร้างความประทับใจการเคลื่อนไหวและท่าทาง การสร้างความประทับใจผ่านการพูดจา  2. เทคนิคการแนะนำตัว 3. เทคนิคการพูดคุยเพื่อสร้างความสนิทสนม  4. เทคนิคการพูดคุยเพื่อคัดกรอง   5. เทคนิคการถามตามแบบสอบถาม  6. เทคนิคการให้คำปรึกษา  7. เทคนิคการติดตามประเมินผล

         สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาอีกประการหนึ่งคือ จริยธรรมการวิจัย เช่น  การปกป้องความเป็นส่วนตัว การรักษาความลับ ความเป็นส่วนตัว การขอความยินยอมโดยสมัครใจ และการวิจัยต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทางร่างกายและจิตใจแก่ผู้ให้ข้อมูล ผลของการวิจัยควรให้ผลดีต่อสังคม  ซึ่งนักวิจัยต้องระลึกเสมอว่า “คุณภาพของงานวิจัยขึ้นอยู่กับความสามารถของนักวิจัยในการเก็บรวบรวมขอมูล และข้อมูลที่ดีมาจากผู้ให้ข้อมูลที่ดี”

References

กรมสุขภาพจิต. (2557). แนวทางการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัด ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข .

ชมพูนุช โสภาจารีย์. (2558). เทคนิคการถามคำถามเชิงลึก. คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559. เข้าถึงได้จาก http://igoodmedia.net/@sudin/04_activity/case/research03.html.

น้ำฝน ไวทยวงศ์กร, เอมพร รตินธร, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร, นิตยา สินสุกใส. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และการแสวงหาความช่วยเหลือของสตรีตั้งครรภ์ที่ถูกกระทำรุนแรงในขณะตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลศาสตร์, 27(3):17-26.

บุปผา ศิริรัศมี, จรรยา เศรษฐบุตร และเบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์. (2544). จริยธรรมสำหรับการศึกษาวิจัยในคน. เอกสารวิชาการหมายเลข 258. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. มหาวิทยาลัยมหิดล.

เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์. (2553). ประเด็นจริยธรรมการวิจัยในคนทางสังคมศาสตร์. วารสารเกษตรศาสตร์,2(31), 290-301.

พิสิทธ์ พิพัฒน์โภคากุล, พรภินันท์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2551). ศิลปะการสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้า.พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพ : อิมเพรสชั่นคอนซัลแทนท์.

มัลลวีร์ อดุลวัฒนศิริ. (2554). เทคนิคการให้คำปรึกษา: การนำไปใช้. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานา.

สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Welt, J. W. & M. Russell. (1993). "Influence of Socially Desirable Responding in a Study of Stress and Substance Abuse." Alcoholism: Clinical and Experimental Research (17) 758-761.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-27

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ