การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการบริหารจัดการฐานข้อมูลวิจัย และความเหมาะสมในการใช้งาน: กรณีศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2016.28คำสำคัญ:
ระบบฐานข้อมูลวิจัย, กระบวนการบริหารจัดการ, วิทยาลัยนานาชาติ, มหาวิทยาลัยมหิดลบทคัดย่อ
งานส่งเสริมและบริหารการวิจัยรับผิดชอบในการบริหารจัดการฐานข้อมูลวิจัยของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัย การจัดทำกลยุทธ์ของส่วนงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงานของอาจารย์ นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในการจัดทำระบบฐานข้อมูลงานวิจัย จึงได้มีการพัฒนาระบบ Mahidol University Electronics Research Information System หรือ MU eRIS ให้ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยได้นำไปใช้ในการจัดการฐานข้อมูลของแต่ละส่วนงาน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงทำการศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการบริหารจัดการฐานข้อมูลวิจัย และวิเคราะห์ความเหมาะสมในการใช้งาน ระหว่างระบบฐานข้อมูลของวิทยาลัยฯ กับระบบฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัย โดยนักวิจัยได้ทำการศึกษาแบบย้อนกลับ (Retrospective Study) จากข้อมูลวิจัยของอาจารย์กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2556 – 2557 ในด้านนักวิจัย ทุนวิจัย แหล่งทุน โครงการวิจัย และผลผลิตของการวิจัย หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการศึกษาโดยทดสอบการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูลทั้งสองระบบ และทำการศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการทำงานในด้านการเตรียมข้อมูลนำเข้า ความรู้ความเข้าใจของผู้บันทึกข้อมูล เวลาในการบันทึกข้อมูล เวลาในการนำข้อมูลมาใช้ งบประมาณ และรายงานผลข้อมูล และผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ความเหมาะสมของฐานข้อมูล MU eRIS ต่อข้อมูลหลักสามด้านตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น จากผลการศึกษาวิจัยในการเปรียบเทียบกระบวนการบริหารจัดการฐานข้อมูลวิจัยพบว่า ฐานข้อมูล MU eRIS มีการเตรียมข้อมูลและเวลาในการบันทึกข้อมูลมากกว่า เนื่องจากมีรายละเอียดของข้อมูลมากกว่า แต่ใช้เวลาน้อยกว่าในการดึงข้อมูลมาใช้และการรายงานผลข้อมูล ส่วนในด้านความเหมาะสมในการใช้งาน ผู้วิจัยพบว่า MU eRIS ยังขาดข้อมูลที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการฐานข้อมูลวิจัยของวิทยาลัยนานาชาติในบางประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของการประเมินผลปฏิบัติงานอาจารย์ นอกจากนั้น ผู้วิจัยได้นำผลการศึกษาดังกล่าวมาจัดทำแบบสอบถามเพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูล ซึ่งผลสำรวจที่ได้รับมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณานโยบาย และพัฒนากระบวนการจัดทำฐานข้อมูลวิจัยของวิทยาลัยฯ ต่อไป
References
ปรัชญา ศิริภูรี. (2555). การวิเคราะห์และการออกแบบระบบ. แหล่งที่มา: http://itd.htc.ac.th/st_it50/it5016/nidz/Web_Analyse/unit1.html.
มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2556). MU eRIS – Drive Your Research Information to the FUTURE. นครปฐม: มหาวิทยาลัย.
รสสุคนธ์ ปิ่นทอง. (2554). ระบบจัดการข้อมูลงานวิจัยและโครงงาน. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมเครือข่าย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, กรุงเทพฯ.
สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม. [ออน-ไลน์]. (2546). ทฤษฎีกระบวนระบบ (System Thinking). แหล่งที่มา: Available http://www.thaicivicnet.com/System%20Thinking.htm.
สุมล สิริทรัพย์ไพบูลย์. (2554). แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ, ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
Hicks, Herbert G. (1972). The Management of Organization : A Systems and HumanResources Approach. New York : McGraw-Hill.
Semprevivo, Phillip C. (1976). Systems analysis : Definition, process and design. {NASSDOC}.
Kindred, Alton R. (1980). Data System and Management : Introduction to SystemsAnalysis and Design. 2nd ed. New Jersey : Prentice Hall