แรงจูงใจในการเข้าร่วมอบรมที่จัดโดยงานบริการวิชาการ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • ธนัตถ์กรณ์ เธียรกิตติ์ธนา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2016.26

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การอบรม, งานบริการวิชาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเข้าร่วมอบรมที่จัดโดยงานบริการวิชาการและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเข้าร่วมอบรมที่จัดโดยงานบริการวิชาการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม ประชากรคือผู้ที่เข้าร่วมอบรมในหลักสูตรที่งานบริการวิชาการ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลจัดในช่วงเดือนตุลาคม 2558 ถึงเดือนมกราคม 2559 จำนวนทั้งสิ้น 105 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาคิดเป็นร้อยละ 52.38 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย(gif.latex?\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่า Independent Samples T-Test และค่า One-Way ANOVA มีผลการวิจัยดังนี้ ด้านข้อมูลทั่วไป พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 85.5 มีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี ร้อยละ 43.6 รองลงมามีอายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 27.3 ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาโท ร้อยละ 56.4 รองลงมามีวุฒิการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี ร้อยละ 32.7 มีประสบการณ์ทำงาน 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ 60 รองลงมามีประสบการณ์ทำงาน 7-9 ปี ร้อยละ 16.4  ด้านปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเข้าร่วมอบรมที่จัดโดยงานบริการวิชาการ พบว่า ปัจจัยด้านลักษณะของสถาบัน เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเข้าร่วมอบรมในระดับมากที่สุด  (gif.latex?\bar{x}) = 4.21) ส่วนปัจจัยด้านวิชาการและสิ่งอำนวยความสะดวก (gif.latex?\bar{x}) = 4.17)  ด้านเหตุผลส่วนตัว (gif.latex?\bar{x}) = 4.16)  ด้านเศรษฐกิจ (gif.latex?\bar{x}) = 3.96) ด้านสังคม (gif.latex?\bar{x}) =3.78)  และด้านบุคคลที่เกี่ยวข้องและสื่อประชาสัมพันธ์ (gif.latex?\bar{x}) = 3.71) เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเข้าร่วมอบรมในระดับมาก ด้านผลการเข้าร่วมอบรมผู้เข้าร่วมอบรมเห็นว่าการเข้าร่วมอบรมที่จัดโดยงานบริการวิชาการ สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาใช้ในงานค้นหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในการทำงาน สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดได้ ทำให้เกิดความมั่นใจและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ ให้คำปรึกษา วิเคราะห์ตัดสินใจ และแก้ไขปัญหากับงานของหน่วยงานได้ดีขึ้น การเปรียบเทียบระหว่างตัวแปร พบว่า เพศ อายุ และประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกันไม่ส่งผลต่อปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเข้าร่วมอบรมที่จัดโดยงานบริการวิชาการ ส่วนวุฒิการศึกษาที่แตกต่างกันส่งผลต่อปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเข้าร่วมอบรมที่จัดโดยงานบริการวิชาการด้านเศรษฐกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 

References

กฤษฎา ช่อชำ. (2550). การรับรู้ข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์กระบะยี่ห้ออีซูซุของผู้บริโภคจังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป). มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, กรุงเทพฯ.

กิติยาภรณ์ สินศุภเศวต. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการวิชาการประเภทการฝึกอบรมสัมมนาของคณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, กรุงเทพฯ.

นรงฤทธิ์ สุรชิต. (2547). แรงจูงใจในการเลือกเรียน สาขาพาณิชกรรมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนพาณิชยการหัวหิน (สารนิพนธ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สุมาลี ภัทรประภากร. (2551). แรงจูงใจในการเรียนรู้. อ้างอิงจาก: www.thaibts.com/text/อ.สุมาลี.doc.สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2558.

ศิรินภา ศรีโคกล่ม. (2556). แรงจูงใจในการเลือกศึกษาต่อสถาบันการพลศึกษา ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในเขตภาคกลาง ปีการศึกษา 2555 (ปริญญานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเรียนรู้พลศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย