ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการ โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • จุฑาภรณ์ คำโยค
  • วลัยพร ราชคมน์
  • วรัญญา เขยตุ้ย

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2016.22

คำสำคัญ:

การให้บริการ, ความพึงพอใจของผู้รับบริการ, โรงพยาบาลทันตกรรม

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจ และปัจจัยที่มีผลต่อระดับความพึงใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้มารับบริการโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเก็บข้อมูลจากผู้มารับบริการทันตกรรมจาก 9 คลินิกภายในโรงพยาบาลทันตกรรม ในช่วงเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม 2557 จำนวน 440 ราย โดยศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการ 9 ด้าน ได้แก่ ด้านการสอบถามหรือนัดหมายทางโทรศัพท์ ด้านการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่ ด้านสถานที่ ด้านการบริการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ ด้านระยะเวลาในการรอตรวจ ด้านการบริการของผู้ช่วยทันตแพทย์ ด้านการบริการของทันตแพทย์ ด้านการรักษาความลับ และด้านการดูแลสุขภาพ
          ช่องปากหลังการรักษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ข้อมูลการรับบริการทางทันตกรรม ส่วนที่ 3 ความพึงพอใจต่อการให้บริการ และส่วนที่ 4 ข้อเสนอแนะ นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่าผู้มารับบริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวมและรายด้านทั้ง 9 ด้าน อยู่ในระดับมากโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านสถานที่ (gif.latex?\bar{x} = 4.43, SD = 0.51) รองลงมาคือ ด้านการดูแลสุขภาพช่องปากหลังการรักษา (gif.latex?\bar{x} = 4.29, SD = 0.57) ด้านการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่ (gif.latex?\bar{x} = 4.28, SD = 0.65) ด้านการบริการของทันตแพทย์ (gif.latex?\bar{x} = 4.27, SD = 0.52) ด้านการรักษาความลับ (gif.latex?\bar{x} =4.23, SD = 0.65) ด้านการบริการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ (gif.latex?\bar{x} = 4.19, SD = 0.66) ด้านการบริการของผู้ช่วยทันตแพทย์ (gif.latex?\bar{x} =4.18, SD = 0.62) ด้านการสอบถามหรือนัดหมายทางโทรศัพท์ (gif.latex?\bar{x} = 4.11, SD = 0.73) และด้านระยะเวลาในการรอตรวจ ( gif.latex?\bar{x} = 3.93, SD = 0.82) ตามลำดับ การวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ผู้รับบริการที่มีเพศชายมีความพึงพอใจมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value=0.16) สำหรับปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และสิทธิการรักษา มีระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไม่แตกต่างกัน

References

ชุฏิมา เธียรเชาว์. (2546). ความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลลาดพร้าว (วิทยานิพนธ์).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ฐิติมา เดียววัฒนวิวัฒน์. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อบริการของคลินิกทันตกรรม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี.

ทิพาพร เสถียรศักดิ์พงศ์. (2552). ความพึงพอใจ ความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการในคลินิกทันตกรรม กลุ่มพัฒนาความร่วมมือทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนาความร่วมมือทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

ปฐมพงศ์ เปรินทร์. (2555). ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของคลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลเขื่องใน สำนักสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ภากรณ์ น้ำว้า และศิริวิมล วันทอง. (2550). ความพึงพอใจของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ย อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์) . นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.

รักเกียรติ จิรินธร, ณรงค์ศักดิ์ สิงห์ไพบูลย์พร, จิราพร คำแก้ว และคณะ. (2549). การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการแพทย์แผนไทย: กรณีศึกษางานแพทย์แผนไทย ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสงขลา โรงพยาบาลสงขลา จังหวัดสงขลา. สงขลานครินทร์เวชสาร, 24(6), 517-526.

รัฐพงษ์ อุดมศรี. (2551). ความพึงพอใจในการให้บริการของโรงพยาบาลตำรวจ: กรณีศึกษาแผนกผู้ป่วยนอก (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

รายละเอียดการเตรียมการรับการเยี่ยมเพื่อประเมินระดับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2555). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ลัคนา ฤกษ์ศุภผล. (2554). ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อคลินิกส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 18(3), 145-159.

วิภาวรรณ แก่นจันทน์หอม. (2552). ความพึงพอใจของผู้รับบริการทันตกรรมของโรงพยาบาลพญาไท 3 ในปีพ.ศ. 2552 (ภาคนิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

สรานันท์ อนุชน. (2556). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก, 14(3), 159-169.

สุรเดช ทองแก้มแก้ว, อนิวัช แก้วจำนง และวาสนา สุวรรณวิจิตร. (ไม่ระบุปีที่ตีพิมพ์).พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้บริการโรงพยาบาล กรุงเทพหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557, จาก http://www.hu.ac.th/Symposium2014/proceedings/data/3404/3404-3.pdf.

อรุณ เล้าเฮง, พิพัฒน์ ศรีทอง, นพมาศ จันทร์โพธิ์ และคณะ. (2557). ศึกษาความพึงพอใจการใช้ระบบการจองห้องประชุม ผ่านระบบเครือข่ายอินทราเนต กรณีศึกษา สำนักงานวิจัย วิชาการและนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal,1(1), 1-10.

เอกอนงค์ อัตประชา. (2554). พฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการจากคลินิกทันตกรรมพิเศษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis., 2nd Ed., Newyork: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย