ความต้องการของผู้รับบริการในการแจ้งผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ผู้แต่ง

  • จันทกานต์ เศวตะพุกกะ
  • สาวิตรี พรสินศิริรักษ์
  • วรวรรณ ลัพธะลักษ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2016.21

คำสำคัญ:

ผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก, แจ้งผลตรวจ

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยายสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการรายงานผลตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของผู้ที่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยกลุ่มตัวอย่าง 400 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม 2558 ที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกพิเศษ-สุภาพสตรี (คลินิกพรีเมี่ยม) ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย

          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 43.85 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส นับถือศาสนาพุทธ ระดับการศึกษาสูงสุดคือระดับปริญญาตรี พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เคยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มากกว่า 10 ครั้งขึ้นไป ซึ่งมีช่องทางในการแจ้งผลตรวจมีให้เลือกดังนี้คือ 1) การรายงานผลทางโทรศัพท์  2) การส่งรายงานผลตรวจทางจดหมาย 3) การนัดฟังผลตรวจด้วยตนเอง 4) การส่งทาง Short Message Service (SMS) 5) การส่งทาง E mail  โดยให้กลุ่มตัวอย่างจัดอันดับช่องทางการแจ้งผลตรวจ 3 อันดับเรียงจากความต้องการมากที่สุดไปน้อยที่สุด ในกรณีผลตรวจปกติ โดยอันดับที่ 1 ที่กลุ่มตัวอย่างต้องการมากที่สุดคือ การรายงานผลทางโทรศัพท์จำนวน 195 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.8  ลำดับถัดมาคือ ส่งรายงานผลตรวจทางจดหมายจำนวน  83 รายคิดเป็นร้อยละ 20.7 ตามด้วยการมาฟังผลตรวจเองที่โรงพยาบาลจำนวน  59 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.7 สำหรับในรายที่ผลตรวจผิดปกติ กลุ่มตัวอย่างต้องการให้รายงานผลทางโทรศัพท์ จำนวน 193 ราย โดยคิดเป็นร้อยละ 48.2 เป็นอันดับที่ 1 เช่นเดียวกัน ส่วนลำดับถัดมาเป็นการมาฟังผลตรวจเองที่โรงพยาบาลจำนวน  120 ราย คิดเป็นร้อยละ 30 ตามมาด้วยส่งรายงานผลตรวจทางจดหมายจำนวน  49 รายคิดเป็นร้อยละ 12.25 ดังนั้นจึงเห็นว่าการแจ้งผลตรวจทางโทรศัพท์เป็นช่องทางที่ผู้รับการเลือกใช้มากที่สุด

          ผลการศึกษานี้ใช้เป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานของพยาบาลในหน่วยตรวจผู้ป่วยนอกพิเศษ-สุภาพสตรี เพื่อให้การบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ นอกจากนี้พยาบาลเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ โดยการให้คำแนะนำปรึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสตรีที่ผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ เพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาอย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในการลดอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งปากมดลูก

 

References

กรรณิกา ตาตะนันท์. (2541). Screening of gynecologic cancer. ใน Simplified gynecologic oncology. กนธีร์ สังขวาสี (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: หน่วยมะเร็งนรีเวชวิทยา กองสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, หน้า 11-25.

แกร์รี ครานซ์. (2551). การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (บุญเลิศ วงศ์พรม, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ยูเรก้า.

จตุพล ศรีสมบูรณ์. (2547). มะเร็งปากมดลูก การวินิจฉัยและการรักษา. กรุงเทพฯ: พี.บี. ฟอเรน บุ๊คเซนเตอร์.

จตุพล ศรีสมบูรณ์, และชำนาญ เกียรติพีรกุล. (2554). มะเร็งนรีเวชวิทยา. คณะอนุกรรมการมะเร็งนรีเวชวิทยา

จันทิรา มังกรศักดิ์สิทธิ์. (2556). ความคิดเห็นของพนักงานต่อการสื่อสารภายในองค์การ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลนนทเวช.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต,กรุงเทพมหานคร.

ชิตาภา สุขพลำ. (2548). การสื่อสารระหว่างบุคคล กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ชิษณุ พันธุ์เจริญ และจรุงจิตร์ งามไพบูลย์. (2553). ประโยคเด็ด-คำพูดเด็ด เพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส

Abdul Rashid, R. M., Mohamed M., Hamid, Z. A., & Dahlui, M. (2013). Is the phone call the most effective method for recall in cervical cancer screening? -results from a randomised control trial. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention, 14(10), 5901-5904.

Nieminen, P., Kallio, M., & Hakama, M. (1995). The effect of mass screening on incidence and Mortality of Squamous and Adenocarcinoma of cervix uteri. Obstetrics & Gynecology. 85(6), 1017-1021.

Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis., 2nd Ed., Newyork: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย