การพัฒนาโมเดลนำร่องของสมรรถนะของหน่วยเลขานุการผู้บริหาร: กรณีศึกษาหน่วยเลขานุการผู้บริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2016.17คำสำคัญ:
สมรรถนะหลัก, สมรรถนะประจำสายงาน, นิยามของสมรรถนะประจำสายงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาโมเดลนำร่องของสมรรถนะของหน่วยเลขานุการผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลให้ตรงตามเป้าหมายที่องค์กรหรือหน่วยงานต้องการ เพื่อศึกษาหาคุณสมบัติหรือองค์ประกอบที่สำคัญของสมรรถนะหลักและสมรรถนะในงานหรือประจำสายงานของหน่วยเลขานุการผู้บริหาร และเพื่อศึกษาหานิยามขององค์ประกอบที่สำคัญของสมรรถนะประจำสายงานของหน่วยงานและเลขานุการผู้บริหาร การศึกษาวิจัยใช้แนวทางในการพัฒนาโมเดลของสมรรถนะของหน่วยงานเลขานุการผู้บริหารแบบบูรณาการ (Integrated Approach) ซึ่งเป็นแนวทางที่ผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพเข้าด้วยกันนับตั้งแต่การทบทวนวรรณกรรม การสร้างเครื่องมือวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ อธิการบดี รองอธิการบดี และผู้ช่วยอธิการบดี กลุ่มผู้อำนวยการกองในสำนักงานอธิการบดี และกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่เคยปฏิบัติหน้าที่เลขานุการผู้บริหารมาก่อนและเลขานุการผู้บริหารที่ปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบัน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลสองครั้งเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของความคิดเห็นที่มีต่อความสำคัญของสมรรถนะต่อหน่วยงานเหล่านี้ นอกจากนั้น ยังใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และสนทนากลุ่มย่อยแบบ Focus Group ของผู้อำนวยการกองสำนักงานอธิการบดีบางส่วนและเลขานุการผู้บริหารที่ปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อนำข้อมูลมาสนับสนุนและเพิ่มเติมผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่าสมรรถนะหลักของหน่วยงานตามแนวทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยซึ่งมีองค์ประกอบคือ การยึดมั่นในคุณธรรม การมีความรับผิดชอบในงาน การทำงานเป็นทีม การวางแผนงานอย่างเป็นระบบ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ และสมรรถนะประจำสายงานซึ่งมีองค์ประกอบที่คือความรู้ ทักษะ บุคลิกภาพ แรงขับภายใน ความคิดเห็นที่เกี่ยวกับตนเอง ความเข้าใจผู้อื่น ความถูกต้องของงาน ความยืดหยุ่นผ่อนปรนและการให้อำนาจแก่ผู้อื่น มีความสำคัญต่อหน่วยงานและเลขานุการผู้บริหารเป็นอย่างยิ่ง จึงสมควรที่จะเป็นสมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงานของหน่วยเลขานุการผู้บริหารโดยเฉพาะองค์ประกอบของสมรรถนะประจำสายงานทั้ง 9 ด้านดังกล่าวนั้นเป็นองค์ประกอบที่มีจำนวนสอดคล้องกับแนวความคิดของ Spencer and Spencer (1993) นักวิชาการชื่อดังที่เขาทั้งสองเห็นว่าสมรรถนะของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งนั้นไม่ควรที่จะมีจำนวนเกิน 7 หรือ 9 สมรรถนะ (Cited in Bozkurt, 2011:28) ดังนั้นโมเดลนำร่องของสมรรถนะที่ได้จึงประกอบไปด้วยสมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงานและนิยามของสมรรถนะดังกล่าวเป็นสำคัญ
References
วรางค์ศิริ ทรงศิล. (2550). การกำหนดขีดความสามารถหลักและขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการของบุคลากร: กรณีศึกษาบริษัท เอ็น เอส เค แบริ่งส์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด. สาระนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ) คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2543). คู่มือการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล.
สำนักงานข้าราชการพลเรือนก.พ. (2548). คู่มือสมรรถนะข้าราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท พี เอ ลีฟวิ่ง จำกัด.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2551). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency Based HRM. กรุงเทพฯ: บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.
McClelland, David C. (1973). Testing for Competence rather than Intelligence.American Psychologist. RetrievedDecember 11, 2005, from www.ei. Haygroup.com
Boyatzis, R.E. (1982). The Competent Manager. New York: John Wiley&Sons.
Tulay, Bozkurt. (2011). Istanbul March, 2011.
Spencer, LM. and Spencer, SM. (1993) . Competence at Work : Models for Superior Performance. Retrieved December 11, 2005, from www.joe.org/joe/1999december/iw4.html